โดยส่วนใหญ่แล้วเวลาไปทำอะไรที่ไหนก็ตาม ถ้าไม่สะดวกก็อาจ “ให้” บุคคลอื่นไปแทนตนเองได้ แต่ถ้าเป็นการให้ไปติดต่อราชการแทน ทำธุระหรือธุรกิจที่มีความสำคัญแทน ต้องทำอย่างไร ถึงจะทำให้บุคคลนั้นมีอำนาจกระทำการแทนได้เสมือนตนไปทำเอง ดังนั้น ในบทความนี้จะกล่าวถึง “หนังสือมอบอำนาจ” ว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร มีกี่ประเภท ต้องเตรียมเอกสารอะไรและต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง บุคคลใดบ้างที่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ อีกทั้งในส่วนท้ายของบทความนี้มีแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจของบุคคลทั่วไปให้สามารถดาว์นโหลดกันได้ เพื่อความสะดวกรวดเร็วได้ในคลิกเดียว
Table of Contents
Toggle1. ความหมายและความสำคัญของหนังสือมอบอำนาจ
ในการดำเนินชีวิตในสังคมบุคคลจำต้องมีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับติดต่อระหว่างกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องธุรกิจการค้าหรือตลอดจนการติดต่อหน่วยงานราชการ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว บุคคลใด ๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องกระทำการในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเองเสมอไปไม่ว่าจะเป็นการติดต่อซื้อขาย แลกเปลี่ยน โอนจำหน่ายจ่ายแจกทรัพย์หรือทรัพย์สิน ซึ่งเว้นแต่ในเรื่องที่เป็นการเฉพาะตนของบุคคลโดยแท้ เช่น การจดทะเบียนสมรส หรือการถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน การรับแสดงภาพยนตร์เป็นต้น
ในบางกรณีเราไม่อาจดำเนินการได้ด้วยตัวเราเองไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดตามกฎหมายหรืออาจจากภารกิจหน้าที่การงาน ดังนั้น กฎหมายจึงมีการตราหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการที่ต้องให้บุคคลอื่นไปดำเนินการขึ้นมาซึ่งเรียกว่าตัวการตัวแทน และ เพื่อไม่ให้เจตนารมณ์ของการมอบอำนาจผิดไปจากตอนตกลงไว้ป้องกันการแปลเจตนารมณ์ที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้มอบหมาย
จึงควรทำหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เพื่อปกป้องสิทธิของตน และผู้ดำเนินการแทน และมีผลทางกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น การโอนรถยนต์ การย้ายทะเบียนบ้าน หรือ การซื้อขายที่ดิน ดังนั้นแล้ว ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “มอบอำนาจ” หมายความว่ามอบหมายให้มีอำนาจจัดการหรือทำการแทน
ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจ จึงเป็นการมอบหมายให้บุคคลอื่นมี “อำนาจ” ในการจัดการ หรือกระทำแทนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยชอบตามกฎหมาย
2. ประเภทของหนังสือมอบอำนาจ
การมอบอำนาจตามกฎหมายนั้นกำหนดไว้ว่า ให้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
2.1.การมอบอำนาจเฉพาะการ คือ การให้กระทำการใด ๆ แทนได้เฉพาะเรื่องที่กำหนดไว้ในหนังสือมอบอำนาจเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 800
2.2 การมอบอำนาจทั่วไป คือ การให้กระทำการแทนได้ทุกอย่าง เว้นแต่ การซื้อขาย หรือจำนองอสังหาริมทรัพย์ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 3 ปี ขึ้นไป การให้ การทำพินัยกรรม การสมรส การหย่าร้าง ประนีประนอมยอมความ การยื่นฟ้องต่อศาล การมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา เป็นต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801
3. รายละเอียดที่ต้องมีในแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจสำหรับบุคคลทั่วไป
4. ความแตกต่างระหว่าง “หนังสือมอบอำนาจ” และ “ใบมอบฉันทะ”
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า หนังสือมอบอำนาจนั้นมีความหมายว่าอย่างไรแล้ว แต่ยังมีสิ่งที่สามารถใช้ในลักษณะเดียวกันกับหนังสือมอบอำนาจได้ กล่าวคือ ใบมอบฉันทะ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนกันระหว่างใบมอบฉันทะและหนังสือมอบอำนาจได้
การมอบฉันทะคือ การมอบให้บุคคลทำธุระให้ด้วยความไว้วางใจ ซึ่งการมอบฉันทะนั้น โดยทั่วไปมิใช่เป็นการใช้อำนาจของผู้มอบฉันทะอย่างหนึ่งอย่างใด หากแต่เป็นการขอให้ดำเนินการในเรื่องธุระทั่วไปให้เท่านั้น ซึ่งในบางกรณีจะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะว่า ในเรื่องใดที่สามารถมอบฉันทะให้ผู้อื่นกระทำแทนได้ แม้จะเป็นเรื่องการใช้อำนาจตามกฎหมายก็ตาม เช่น กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 บัญญัติให้ “เมื่อคดีมีเหตุผลพิเศษอันเกี่ยวกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทนายความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะคู่ความหรือทนายความ อาจแต่งตั้งให้บุคคลใดทำการแทนได้ โดยยื่นใบมอบฉันทะต่อศาลทุกครั้ง เพื่อกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ กำหนดวันนั่งพิจารณา หรือวันสืบพยาน หรือวันฟังคำสั่ง คำบังคับหรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล มาฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล หรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้น ๆ รับสำเนาคำให้การ คำร้อง หรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 และ 72 และแสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น” หรือกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1189 บัญญัติให้ “ผู้ถือหุ้นทุกคนจะมอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนก็ได้ แต่การมอบฉันทะเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือ” หรือกรณีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 45 (5) บัญญัติให้ “ผู้ฟ้องคดีสามารถมอบฉันทะให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้” เป็นต้น
หนังสือมอบอำนาจและใบมอบฉันทะ มีวิธีการใช้และความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
การมอบอำนาจ ย่อมมีความหมายตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์เป็นการทั่วไป คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการมอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าตัวการกระทำด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องของการมอบให้ตัวแทนใช้อำนาจแทนตนตามกฎหมาย
ส่วนกรณี การมอบฉันทะนั้น มีความหมายว่า เป็นการที่บุคคลมอบให้ผู้อื่นไปทำธุระให้ด้วยความไว้วางใจโดยมีหลักฐาน ซึ่งมีใช่เป็นการแสดงออกทางการใช้อำนาจตามกฎหมาย เว้นแต่ กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ว่าการใช้อำนาจนั้นต้องกระทำด้วยการมอบฉันทะ ย่อมต้องมอบฉันทะในเรื่องนั้นเป็นรายกรณีไป
5. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้หนังสือมอบอำนาจ
5.1 ผู้มอบอำนาจจะต้องกำหนดระยะเวลา และเงื่อนไขในการมอบอำนาจไว้อย่างชัดเจนด้วย
5.2 ถ้าหากผู้รับมอบอำนาจกระทำเกินขอบเขตอำนาจที่ได้รับนั้น ผู้มอบอำนาจไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจ ได้กระทำเกินอำนาจ ซึ่งผู้รับมอบอำนาจนั้นจะต้องรับผิดชอบในส่วนที่กระทำเกินมาทั้งหมด
5.3 ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจต้องไม่เป็นผู้เยาว์ เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
5.4 ผู้รับมอบอำนาจนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือจะเป็นนิติบุคคลก็ได้
5.5 ในหนังสือมอบอำนาจจะต้องมีพยานลงนามอย่างน้อย 1 คน
6. ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารที่มอบสิทธิ์และอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการแทนผู้มอบอำนาจได้อย่างเต็มที่ แต่เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ผู้มอบอำนาจจึงต้องระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจ เช่น การลงลายมือชื่อ ของผู้มอบ และ ผู้รับมอบอำนาจพร้อมพยานอย่างน้อยหนึ่งคน ไม่ควรให้มีการมอบอำนาจช่วงเว้นแต่จะมีเหตุผลที่ชัดเจนเพียงพอ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ดี หนังสือมอบอำนาจบางประเภทกฎหมายได้กำหนดให้ใช้รูปแบบหรือฟอร์มหนังสือมอบอำนาจที่เป็นแบบเฉพาะ เช่น การทำหนังสือมอบอำนาจตามแบบกรมที่ดิน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมขนส่ง เป็นต้น
6.1 กรมที่ดิน
การมอบอำนาจของกรมที่ดิน กล่าวคือ การที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายที่ดิน แต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งมีอำนาจดำเนินการซื้อหรือขายที่ดินแทน ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจตามแบบที่กรมที่ดินกำหนด ตามมาตรา 801 วรรคสอง
(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายไทยให้ความสำคัญต่อการทำนิติกรรมสัญญาสัญญาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่กฎหมายได้กำหนด “แบบ” แห่งสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไว้เป็นการเฉพาะ มิฉะนั้น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมตกเป็นโมฆะ หรือกำหนดให้สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ต้องมี “หลักฐานเป็นหนังสือ”
6.2 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
หนังสือมอบอำนาจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้านั้น เป็นหนังสือมอบอำนาจที่ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดแบบไว้โดยเฉพาะ เพื่อให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจกระทำการแทนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแทนผู้มอบอำนาจ เช่น การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท เป็นต้น
6.3 กรมการขนส่ง
เช่นเดียวกับการมอบอำนาจให้กระทำแทนในการซื้อหรือขายที่ดินที่จำเป็นต้อง กระทำตามที่กรมที่ดินระบุไว้นั้นอีกกรณีหนึ่ง กล่าวคือ การทำหนังสือการมอบอำนาจเพื่อดำเนินการโอนรถยนต์ โดยกรณีของรถยนต์นี้กฎหมายไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะ จึงสามารถใช้หนังสือมอบอำนาจทั่วไปได้ แต่อย่างไรก็ดี จำต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่กรมการขนส่ง การโอนนั้นจึงจะชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นจึงต้องทำตามแบบที่กรมการขนส่งระบุไว้
7. ตัวอย่างแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ
ไม่รู้จะเริ่มทำหนังสือมอบอำนาจยังไงใช่ไหม Lawsnote DocPie มีบริการทำหนังสือมอบอำนาจใหม่เพื่อคุณ
ค้นหาคำในกูเกิลจนเหนื่อยท้อใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็น “หนังสือมอบอํานาจ” “หนังสือมอบอำนาจกรมที่ดิน” หรือ “หนังสือมอบอํานาจกรมการขนส่ง” แต่ก็ยังหาหนังสือมอบอำนาจที่เข้ากับความต้องการและเหมาะสมกับสถานะการณ์ของตัวเองไม่เจอหรืออาจจะไม่แน่ใจว่าต้องเรื่องเทตเพลตสัญญายังไงใช่ไหม อย่าได้กังวลไป หนังสือมอบอำนาจที่ครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะสมกับความต้องการ ให้เป็นเรื่องของทีม Lawsnote DocPie ในการบริการทำหนังสือมอบอำนาจให้คุณ
Lawsnote DocPie ทีมทนายความที่มีสามารถและเชี่ยวชาญในการแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านกฎหมาย ช่วยเหลือในการเจรจาว่าความระหว่างคู่สัญญาและเขียนสัญญาข้อตกลงอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพทางกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่ตามมา
คลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อทีมทนายความของเราที่ความเชี่ยวชาญเพื่อบริการคุณ