หน้าหลัก|ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย » สัญญาเช่าคืออะไร ควรมีเนื้อหาอะไรบ้างในการทำสัญญาเช่าเข้าใจได้ง่ายภายในบทความนี้

สัญญาเช่าคืออะไร ควรมีเนื้อหาอะไรบ้างในการทำสัญญาเช่าเข้าใจได้ง่ายภายในบทความนี้

สัญญาเช่าคืออะไร ควรมีเนื้อหาอะไรบ้างในการทำสัญญาเช่าเข้าใจได้ง่ายภายในบทความนี้

การหาห้องพักให้ถูกใจว่ายากแล้ว แต่การทำสัญญาในการเช่าห้องพักนั้นยากยิ่งกว่า หลาย ๆ คนอาจมีข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดสัญญาเช่าถึงสำคัญ สัญญาเช่านั้นควรเขียนในลักษณะรูปแบบใดจึงจะมีผลทางกฎหมาย และมีข้อควรระวังใดบ้างที่ควรระวัง ซึ่งบทความนี้จะอธิบายความหมายและความสำคัญของการทำหนังสือสัญญาเช่าบ้าน

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 อธิบายเกี่ยวกับสัญญาเช่าทรัพย์ว่า “เป็นสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้ให้เช่า” ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้เช่า” ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าตามจำนวนที่ได้ระบุไว้ในสัญญา” 

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 อธิบายเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ เช่น บ้าน ห้องพัก อาคารชุดที่ดิน ไว้ว่า “ถ้าการเช่าไม่ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้เช่าและผู้ให้เช่า หากเกิดกรณีข้อพิพาทเกิดขึ้นจะไม่สามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ ถ้าการเช่ามีกำหนดระยะเวลาการเช่าสามปีขึ้นไป
หรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
จะสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปีเท่านั้น”

โดยการเช่าตามมาตรา 538 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. การเช่าแบบระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือสัญญาเช่าโดยมีการลงลายมือชื่อคู่สัญญา
    ทั้งสองฝ่าย เนื่องจาก หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจึงจะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันได้
  2. การเช่าแบบระยะเวลาที่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
    จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับเรียกค่าเสียหายกันได้ตามระยะเวลาที่ได้มีการเช่า แต่หากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จะสามารถฟ้องร้องบังคับเรียกค่าเสียหายกันได้เพียง 3 (สาม) ปีเท่านั้น

    การเช่าที่ดินหรือการทำสัญญาเช่าบ้าน

    แต่ละที่นั้น จะมีรายละเอียดในสัญญาเช่าแตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องของกฎข้อบังคับ ระยะเวลาวางเงินประกัน ค่าปรับต่าง ๆ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทุกๆ สัญญาเช่าที่ดีควรจะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน เพื่อระบุรายละเอียดให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเข้าใจและมีเจตนาเข้าทำสัญญาแบบเดียวกัน กำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าและผู้ให้เช่า รวมถึงความรับผิดชอบในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นในภายหลัง ดังนั้น สัญญาเช่าจึงเป็นเอกสารกฎหมายที่สำคัญไม่เพียงแต่ปกป้องสิทธิระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า แต่ยังเป็นข้อมูลและหลักฐานอ้างอิงสำคัญในการชี้แจงประเด็นต่าง ๆ หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเกิดเหตุข้อพิพาทขึ้น 

ความแตกต่างระหว่างสัญญาเช่าแบบ “ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี” และ “ระยะเวลาที่เกิน 3 ปี”

2. หนังสือสัญญาเช่าบ้านควรมีรายละเอียดอะไรบ้างที่ต้องมีในสัญญา

  1. ระบุชื่อและที่อยู่และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เช่าและผู้ให้เช่าลงในสัญญาให้ครบถ้วน 
  2. ระบุรายละเอียด สถานที่ เลขที่ตั้ง ตำแหน่ง ของทรัพย์สินที่เช่าลงในสัญญาให้ครบถ้วนและชัดเจน 
  3. กำหนดระยะเวลาการเช่า โดยระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มต้นการเช่า และวัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดการเช่า
      ทั้งนี้หากเกิน 3 ปีต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
  4. ระบุจำนวนเงินค่าเช่า ค่ามัดจำ ค่าประกัน ค่าส่วนกลางลงในสัญญาให้ชัดเจน และระบุวิธีการชำระเงิน
      ระยะเวลาในการคืนเงินมัดจำ และวันที่ในการคืนเงินประกัน
  5. อัตราค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการการใช้อินเตอร์เน็ต
  6. ระบุความรับผิดของผู้เช่า ในกรณีที่เกิดความเสียหาย สูญหายต่อทรัพย์ ลงในสัญญาให้ชัดเจน
  7. ระบุความรับผิดของผู้เช่า ในกรณีที่หากทรัพย์ที่เช่านั้น ยังอยู่ในระยะเวลาของการเช่า ถูกยึดทรัพย์
      ถูกเวรคืนทรัพย์ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เช่าไม่สามารถใช้ทรัพย์ที่เช่าได้ ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบในการชำระ
      ค่าปรับ หรือค่าเสียหายใดๆ อันเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้น 
  8. ระบุความรับผิดของคู่สัญญากรณีผิดสัญญา ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา 
  9. ระบุเหตุในการผิดสัญญา และการบอกเลิกสัญญาลงในสัญญาให้ชัดเจน
  10. ระบุลงในสัญญาให้ชัดเจนว่า ผู้เช่าสามารถก่อสร้าง ต่อเติม แก้ไข ทรัพย์ที่เช่าได้หรือไม่
  11. ระบุสภาพ และ รายการทรัพย์สินที่ติดอยู่กับทรัพย์ที่ให้เช่า และการตรวจทรัพย์ที่เช่าก่อนส่งมอบ
  12. ระบุข้อตกลงการเช่าช่วงและการโอนสิทธิ์การเช่า
  13. สัญญาต้องจัดทำขึ้น 2 (สอง) ฉบับ โดยมีข้อความที่ตรงกันทุกอย่าง ลงลายมื่อชื่อผู้เช่าและผู้ให้เช่า

    รวมถึงพยานทั้ง 2 คน และให้ผู้เช่าและผู้ให้เช่าเก็บไว้คนละฉบับ

3. ข้อควรระวัง และข้อเสนอแนะ

ในการเช่าห้องพักมักจะเกิดปัญหาหรือข้อพิพาทเป็นจำนวนมาก โดยปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเจอบ่อยที่สุดในการเช่าห้องพักจะมีดังนี้

ผู้เช่า

ควรยืนยันสถานะเจ้าของห้อง ก่อนที่ผู้เช่าจะเซ็นสัญญา โดยแนะนำว่าควรให้เจ้าของห้องเตรียมเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องในการยืนยันตน และขอหนังสือหลักฐานความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า เช่น โฉนดและสำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้ให้เช่ามีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน 

ยืนยันสถานะนายหน้า โดยสามารถขอให้นายหน้าแสดงหลักฐานที่ผู้ให้เช่าแต่ตั้งให้เป็นนายหน้า
ในการหาบุคคลมาเช่า และใบอนุญาติที่เกี่ยวข้องของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 

ยืนยันสถานะผู้ให้เช่าช่วง โดยสามารถขอเอกสารเพื่อตรวจสอบดูว่ามีข้อความระบุลงในหนังสือยินยอมให้นำทรัพย์ออกให้เช่าช่วงได้ เพื่อยืนยันว่าผู้ให้เช่าช่วงกับเจ้าของเดิมได้มีการอนุญาตให้มีการเช่าช่วงต่อได้ 

ยืนยันธุรกิจ โดยตรวจสอบสถานะบุคคลของบริษัท ก่อนเซ็นสัญญาเช่ากับอีกฝ่าย โดยแนะนำว่าควรจะตรวจสอบสถานะธุรกิจของบริษัทในระบบเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์และขึ้นทะเบียนการค้าในกระทรวงพานิชย์ เนื่องจากเคยเกิดกรณี บริษัทนายหน้าแห่งหนึ่งอยู่ในสถานะเลิกกิจการแล้ว
แต่ยังทำการดำเนินธุรกิจการให้เช่าอย่างผิดกฎหมายอยู่ ซึ่งในท้ายที่สุดส่งผลกระทบให้ผู้เช่าพบเจอปัญหาที่ยากต่อการช่วยเหลือได้

ผู้ให้เช่า

  1. ผู้ให้เช่าควรกำหนดให้ผู้เช่านำเอกสารสำเนาประจำตัวประชาชน นามบัตร หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง มาเพื่อยืนยันตัวตน และควรยืนยันอายุของผู้เช่า ซึ่งหากผู้เช่าอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องแสดงหนังสือยินยอมจากตัวแทนตามกฎหมาย
  2. เมื่อมีการทำสัญญาเกิดขึ้น ผู้ให้เช่าควรระบุเนื้อหาดังต่อไปนี้ลงในสัญญา ได้แก่ ข้อมูลการเช่า ที่อยู่ห้อง ระยะเวลาการเช่าและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ค่าเช่าและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากค่าเช่าแล้วยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่าโทรศัพท์ควรเป็นหน้าที่ของใครในการรับผิดชอบ การปรับเปลี่ยนและตกแต่ง
    ผู้เช่าสามารถปรับเปลี่ยนและตกแต่งห้องได้ขนาดไหน เช่น สามารถเปลี่ยนผ้าม่านในห้องได้หรือไม่ สามารถติดตะขอ หรือ ทำชั้นวางได้หรือไม่ เป็นต้น ระวังในเรื่องมีข้อจำกัดเพิ่มเติมหรือเงื่อนไขในการชดเชย เช่น ห้ามเลี้ยงสัตว์ ห้ามจับกลุ่มรวมกัน และข้อห้ามเพิ่มเติมอื่น ๆ รวมถึงเงื่อนไขในการส่งมอบห้องพักคืน
  3. หลังจากเซ็นสัญญาสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ต้องชำระค่าเช่าในเดือนแรกและค่ามัดจำ ทั้งนี้ผู้ให้เช่าและผู้เช่าสองฝ่ายต่างเก็บสัญญาไว้คนละฉบับ

สภาพของห้อง

เมื่อถึงเวลาผู้เช่าห้องพักเข้ารับห้อง สภาพของห้องไม่ตรงกับสิ่งที่ระบุไว้ในสัญญา อาจจะเกิดข้อพิพาทขึ้น ดังนั้น คู่สัญญาควรเข้าตรวจสอบห้องและจดสิ่งที่พบเจอว่าชำรุดหรือมีปัญหาหรือไม่ ก่อนที่จะเซ็นสัญญา และจัดทำ รายการตรวจเช็คทรัพย์สิน เพื่อนำมาเป็นเอกสารประกอบในสัญญาเช่าบ้าน หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นในอนาคตจะได้นำรายการตรวจเช็คทรัพย์สินดังกล่าวมาเป็นหลักฐาน

การชำระค่าเช่า

การชำระเงินค่าเช่าล่าช้า หรือค้างชำระค่าเช่าห้อง เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย ผู้เช่าควรชำระค่าเช่าตามเวลาที่กำหนดไว้ตามวิธีการชำระเงินและเวลาที่กำหนดในสัญญา ในกรณีที่ชำระเงินล่าช้าหรือค้างค่าชำระ ผู้ให้เช่าสามารถขอให้ผู้เช่าชำระดอกเบี้ยผิดนัดชำระหรือยกเลิกสัญญาเช่าได้

การซ่อมบำรุงห้องพัก

ในส่วนของการบำรุงรักษาและซ่อมแซมห้องพักที่เช่า ในสัญญาควรระบุขอบเขตความรับผิดชอบ ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายให้ชัดเจน รวมถึงขอบเขตความรับผิดชอบการบำรุงซ่อมแซมเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น ใครเป็นคนรับผิดชอบในการเปลี่ยนหลอดไฟ สุขภัณฑ์ชักโครกอุดตันใครเป็นคนแก้ไขเวลามีข้อพิพาทต้องแก้ไขตามเงื่อนไขของสัญญาและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบสัญญา

สัญญาเช่าควรระบุไว้ว่า หากผู้เช่าหรือผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนด
ควรปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อไหน หรือระยะเวลาที่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และจำเป็นต้องชำระค่าผิดสัญญาในเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทในอนาคต

เงินมัดจำ หลักทรัพย์ค้ำประกัน และ การคืนเงินมัดจำ

หากผู้เช่าไม่ได้ต่อสัญญาแล้ว การคืนเงินมัดจำและเงินประกันก็เป็นอีกหนึ่งข้อพิพาทที่พบบ่อย
เหตุเกิดการพิพาทอาจจะเกิดจากเวลาและจำนวนที่ต้องคืนเงินดังกล่าว ดังนั้น จึงควรระบุไว้ในสัญญาให้ชัดเจน
ซึ่งผู้เช่าและผู้ให้เช่าก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญา 

ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดที่แสดงให้เห็นว่า เพราะเหตุใดสัญญาเช่าถึงสำคัญ สัญญาเช่านั้นควรเขียนในลักษณะรูปแบบใดจึงจะมีผลทางกฎหมาย และมีข้อควรระวังต่าง ๆ และสิ่งที่ต้องมีในสัญญาเช่าทรัพย์ ซึ่งบทความข้างต้นที่กล่าวถึงเรื่องข้อพิพาทที่พบเจอบ่อย เพื่อเตือนและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้ ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องระมัดระวังตรวจทานอย่างละเอียดก่อนที่จะเซ็นสัญญา

4. เทมเพลตสัญญาเช่าหาได้จากไหน ดาวน์โหลดไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของเทมเพลตสัญญาเช่าได้ที่นี่

ดาวน์โหลดหนังสือสัญญาเช่าบ้านก็ต้องที่ Lawsnote DocPie!

คุณยังคงหาข้อมูลอย่างยากลำบากบนอินเตอร์เน็ตเรื่อง “เทมเพลตสัญญาเช่า” “เทมเพลตสัญญาเช่าห้องพัก” หรือ “เทมเพลตการบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนด”อยู่ไหม ห้องเช่าแต่ละที่มีความต้องการและความพิเศษไม่เหมือนกัน เช่น การขยายระยะเวลาของสัญญา หรือการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนด หากคุณทำหรือลอกตามเทมเพลตการขยายการเช่าทั่วไปและเทมเพลตการยกเลิกสัญญาเช่า ยากที่จะเลี่ยงข้อบกพร่องหรือเงื่อนไขที่ไม่สมบูรณ์ อยากทราบวิธีที่สะดวกขึ้น โดยสามรถจัดทำสัญญาเช่า 1 ฉบับที่เป็นของคุณไหม ถ้าเช่นนั้นคุณไม่ควรพลาดอุปกรณ์สร้างสัญญาอัตโนมัติของ Lawsnote DocPie! 

การบริการของ Lawsnote DocPie 

  • ปรับแต่ง : เพียงแค่ตอบแบบสอบถามแบบง่าย ๆ และระบบจะปรับเนื้อหาเอกสารตามคำตอบของ คุณโดยอัตโนมัติ 
  • เชี่ยวชาญ : แบบสอบถามและเนื้อหาเอกสารทางกฎหมายจัดทำโดยทนายความมืออาชีพ 
  • ราคาสมเหตุสมผล : Lawsnote เก็บค่าบริการแบบสมเหตุสมผล เอกสารทางกฎหมายในแต่ละฉบับ
    ราคาไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าบริการจากทนายความ

คลิกปุ่มด้านล่างเพื่อเพิ่มเพื่อนLawsnote DocPie ไลน์ออฟฟิเชียล และ ติดต่อเราเพื่อการบริการด้านกฎหมายที่คุณต้องการ!