หน้าหลัก|ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย » วิเคราะห์เนื้อหาสัญญาซื้อขายรถยนต์แบบครบถ้วน ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงจากข้อพิพาทในการซื้อขาย

วิเคราะห์เนื้อหาสัญญาซื้อขายรถยนต์แบบครบถ้วน ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงจากข้อพิพาทในการซื้อขาย

วิเคราะห์เนื้อหาสัญญาซื้อขายรถยนต์แบบครบถ้วน ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงจากข้อพิพาทในการซื้อขาย

ทำไมสัญญาซื้อขายรถยนต์ถึงมีความสำคัญ? การร่างสัญญามีข้อควรระวังอะไรบ้าง? สัญญาซื้อขายรถยนต์แบบธรรมดาทั่วไปใช้ได้หรือไม่? บทความนี้จะพาคุณไปเข้าใจสัญญาซื้อขายรถยนต์ว่าต้องมีเนื้อหาอะไรบ้าง และช่องทางการดาวน์โหลดสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยนิติบุคคลเพื่อการทำธุระกรรมซื้อขายรถยนต์ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น

Table of Contents

1. หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์คืออะไร การลงนามในหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์มีความสำคัญอย่างไร

หากคุณค้นหากรณีพิพาทเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์บนอินเทอร์เน็ต คุณจะพบว่าข้อพิพาทส่วนใหญ่นั้นมาจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันของคู่สัญญา ดังนั้นไม่ว่าคุณจะซื้อรถมือหนึ่งหนึ่งมือสอง ถ้าคู่สัญญาได้ตกลงเจรจาเนื้อหาข้อความในหนังสือสัญญาซื้อขายก่อนการซื้อขายทุกครั้ง อาจจะลดข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ซึ่งการทำสัญญาซื้อขายรถมือหนึ่งนั้น โดยทั่วไปจะทำขึ้นโดยบริษัทที่ขายรถ แต่ว่าการซื้อรถมือสองส่วนใหญ่นั้นสัญญาซื้อขายจะถูกจัดทำขึ้นโดยคู่สัญญาซื้อขายทั้งสองฝ่าย และมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า  “สัญญาซื้อขายรถยนต์มือสอง” หรือ “หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์” ซึ่งการทำสัญญาซื้อขายรถยนต์นั้น หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเห็นต้องตรงกันแล้วและได้ลงลายมือชื่อในสัญญา ก็จะถือว่ามีผลทางกฎหมายโดยสามารถนำสัญญาฉบับนั้นมาบังคับใช้กับคู่สัญญาได้  โดยสัญญาซื้อขายนั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายรับทราบตรงกัน หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นในอนาคต คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายก็สามารถใช้ข้อสัญญาในหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์มาใช้ในการระงับข้อพิพาทได้

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากรถที่ขายออกไปผู้ซื้อตรวจสอบพบความชำรุดบกพร่อง แต่ตราบใดที่ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะทำการซื้อขายกัน ต่อให้รถคันนั้นมีปัญหาก็สามารถระบุเป็นข้อความในสัญญา เพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการทำสัญญาซื้อขาย โดยผู้ขายจะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่จะซื้อขาย หากผู้ซื้อตกลง ผู้ซื้อจะไม่สามารถใช้ข้ออ้างว่ารถมีตำหนิ เพื่อให้ผู้ขายรถยนต์ลดราคาหรือบอกเลิกสัญญาในภายหลัง

2. ข้อความที่ควรระบุในสัญญาซื้อขายรถยนต์มีอะไรบ้าง

เนื่องจากบนโลกอินเทอร์เน็ตทั่วไปเทมเพลตสัญญาซื้อขายรถยนต์นั้นค่อนข้างที่จะไม่ละเอียดหรือขาดความแม่นยำของเนื้อหาไป เพื่อให้การซื้อขายรถยนต์นั้นสามารถคุ้มครองสิทธิได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถได้รับสิทธิตรงนั้นผ่านการทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ ในเนื้อหาต่อไปนี้ได้รอบรวม หลักเกณฑ์ที่กระทรวงขนส่งได้ประกาศไว้ในเนื้อหาที่ว่า เนื้อหาหลักเกณฑ์ที่ควรและไม่ควรระบุยานพาหนะประเภทรถยนต์ เพื่อให้คุณได้เข้าใจเนื้อหาและข้อบังคับที่ควรมีในการทำหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ และเพื่อไม่ให้ทำผิดกฎหมายหรือส่งผลกระทบต่อการทำให้สัญญาเป็นโมฆะ

2.1 การตรวจสอบสัญญาซื้อขายรถยนต์

ก่อนที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะทำการเซ็นสัญญา ผู้ขายควรส่งมอบสัญญาซื้อขายต้นฉบับและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการโอนรถยนต์ให้กับผู้ซื้อกลับไปได้อ่านสัญญาอีกรอบเพื่อความสะดวกในการอ่านและเข้าใจข้อสัญญา คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นคนกำหนดระยะเวลาในการอ่านทบทวนสัญญาได้ แต่จะต้องให้ผู้ซื้อมีระยะเวลาในการอ่านทบทวนสัญญาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 วัน

2.2 การตรวจสอบสภาพของรถยนต์ที่ซื้อขาย

 ตรวจสอบยี่ห้อ รุ่น สีของรถยนต์ ปีที่ผลิต เครื่องยนต์ ประเภทของรถ สถานที่ผลิต และอุปกรณ์อื่น ๆ หรือข้อกำหนดพิเศษ

2.3 ราคาและวิธีการชำระเงิน

ระบุให้แน่ใจในเรื่องของราคา ระยะเวลาในการชำระเงินและวิธีการช่องทางในการชำระ เช่น เงินสด โอนเงิน หรือผ่อนชำระ

2.4 กำหนดระยะเวลา สถานที่ในการส่งมอบรถยนต์และการโอนกรรมสิทธิ์

ระบุให้แน่ใจในเรื่องของวันส่งมอบรถยนต์และสถานที่

2.5 ความชำรุดบกพร่องของยานพาหนะที่จะส่งผลต่อตัวรถยนต์

ในขั้นตอนการทำสัญญาหากจบเจอจุดชำรุดบกพร่องที่อาจมีผลเสีย หรือเกิดอันตรายต่อตัวรถยนต์ที่ซื้อขายโดยตรง เช่น รถที่น้ำเข้าเครื่องหรือรถที่เคยเกิดอุบัติเหตุ หรืออื่นๆ ควรมีการพูดคุยในเรื่องของการลดราคาหรือยกเลิกการทำสัญญา

2.6 จุดที่ยากต่อการบำรุงซ่อมแซม

ในระหว่างการทำสัญญาหากพบว่ารถยนต์ของอีกฝ่ายมีจุดชำรุดหรือจุดที่ยากต่อการบำรุงซ่อมแซมนั้นควรหารือกัน เช่น ผู้ซื้ออาจจะขอให้เปลี่ยนรถยนต์เป็นรุ่นหรือราคาที่เท่ากัน หรือยกเลิกสัญญา

2.7 สิ่งที่ต้องรับผิดชอบและการประกัน

ควรระบุว่าผู้ขายจะต้องมีหน้าที่ระยะเวลาในการรับผิดชอบและประกันความเสียหายของรถ เช่น หลังจากการส่งมอบรถยนต์หกเดือนเป็นตนไป หรือ ขับรถยนต์ไปไม่เกินหนึ่งหมื่นกิโล ควรมีหลักประกันในการรับผิดชอบรถยนต์คันที่ขาย

เนื้อหาที่ต้องระบุลงในสัญญาซื้อขายรถยนต์

3. ข้อความที่ควรและไม่ควรระบุในสัญญาซื้อขายรถยนต์

  • จะไม่มีคำใดที่ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดในการรับประกันสำหรับความชำรุดบกพร่อมที่ไม่ได้พบ ณ เวลาที่จัดส่ง
  • ห้ามระบุในสัญญาว่าอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้เกินร้อยละ 15 ต่อปี 
  • จะต้องไม่ระบุว่าคู่สัญญาสามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของสัญญาเพียงฝ่ายเดียวหลังจากตกลงตามสัญญาแล้ว
  • จะต้องไม่ระบุในสัญญาว่าผู้บริโภคอาจถูกผู้ประกอบการปฏิเสธการชำระหนี้ก่อนกำหนดได้
  • จะไม่มีการระบุในสัญญาว่าผู้บริโภคจะต้องชำระค่าธรรมเนียมอื่น ๆ หากมีการชำระล่วงหน้า
  • ต้องไม่มีการระบุในสัญญาว่าผู้ประกอบการอาจยึดราคาที่ผู้บริโภคชำระไว้เกินกว่าร้อยละ 10 ของราคาทั้งหมด
  • ไม่มีคำอธิบายใดเป็นการยกเว้นหรือลดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ประมวลกฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายและข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ห้ามระบุในสัญญาข้อตกลงใดๆ ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายบังคับหรือต้องห้าม หรือเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นธรรม
  • ห้ามใช้ถ้อยคำที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดสิทธิของผู้บริโภคในการเลือกซื้อประกันภัย

4. สัญญาซื้อขายรถยนต์และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522

ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 หากเนื้อหาของสัญญาซื้อขายรถยนต์ละเมิด “สิ่งที่ไม่ควรระบุไว้” เงื่อนไขที่ละเมิดเหล่านี้จะถือเป็นโมฆะ สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือโดยปกติทั่วไปแล้ว แค่ละเมิด “เรื่องที่ไม่ควรระบุในสัญญา” ไว้แค่ข้อเดียวเท่านั้นจะนับว่าข้อนั้นไม่มีผล  และเนื้อหาอื่นๆ ที่ไม่ละเมิดกฎยังคงมีผลคงเดิม อย่างไรก็ตาม หากสัญญาบางส่วนแสดงให้เห็นถึงเกิดความไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเห็นได้ชัดหรือระบุข้อสัญญาที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายเกินครึ่ง สัญญาซื้อขายรถยนต์ทั้งหมดจะถือเป็นโมฆะ

5. การผิดสัญญาหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ต้องมีความรับผิดอะไรบ้างตามกฎหมาย

นับตั้งแต่คู่สัญญาได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ขึ้น คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามหน้าที่ในสัญญา  หากคู่สัญญาฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามแล้วนั้นจะถือว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้น ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งอาจทำให้อีกฝ่ายใช้สิทธิบอกเลิกสัญญารวมถึงเรียกค่าปรับได้ในกรณีที่มีข้อสัญญาระบุเรื่องค่าปรับเอาไว้ สัญญาซื้อขายรถยนต์

ข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาซื้อขายรถยนต์

  1. การคืนเงินมัดจำหรือริบเงินมัดจำ: หากผู้ขายผิดสัญญาและปฏิเสธที่จะขายรถจะต้องคืนเงินมัดจำที่ได้รับให้กับผู้ซื้อ หากผู้ซื้อผิดสัญญาและปฏิเสธที่จะซื้อรถ รถยนต์ ผู้ขายมีสิทธิริบเงินมัดจำที่ผู้ซื้อชำระไว้ ณ วันทำสัญญาและสามารถเอารถคืนได้พร้อมกัน
  2. ค่าเสียหายเชิงค่าปรับ: หากมีการละเมิดสัญญา ควรจ่ายค่าเสียหายเชิงค่าปรับจำนวนหนึ่งเพื่อบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา

6. หลังจากเตรียมแบบฟอร์มสัญญาซื้อขายรถยนต์และ ต้องมีขั้นตอนอะไรบ้างในการดำเนินการโอนรถยนต์ให้ครบสมบูรณ์

การซื้อขายรถยนต์มือสองสามารถอิงได้จาก แบบสัญญาซื้อขายรถยนต์มือสอง แบบสัญญาขายรถยนต์ส่วนตัว เพื่อจัดทำร่างสัญญาซื้อขายรถยนต์ให้ครบถ้วน ที่สำคัญไปกว่านั้น คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการโอนรถให้ครบถ้วนด้วย เพื่อการรับโอนกรรมสิทธิในรถที่คุณรักกลับบ้านได้อย่างราบรื่น

ต่อไปนี้จะแบ่งขั้นตอนการโอนรถออกเป็น 4 ขั้นตอนง่าย ๆ เพื่อช่วยให้คุณดำเนินการโอนรถให้เสร็จสิ้นได้อย่างง่ายดายและราบรื่น

6.1 ขั้นตอนที่ 1: ตรวจสอบระยะเวลาประกัน

การประกันภัยภาคบังคับเป็นรายการประกันภัยที่รัฐบาลกำหนดให้เจ้าของรถทุกคนต้องทำประกัน เมื่อจัดการการโอนรถยนต์ ผู้ซื้อต้องยืนยันก่อนว่าประกันภาคบังคับของเจ้าของรถเดิมนั้นขาดต่ออายุเกิน 1 ปี หรือไม่ หากประกันภาคบังคับขาดต่ออายุน้อยกว่า 1 ปี เจ้าของรถใหม่สามารถทำประกันใหม่ได้ด้วยตัวเอง แต่หากประกันภาคบังคับมีอายุขาดต่ออายุเกิน 1 ปี เจ้าของรถใหม่และเก่าต้องไปที่สำนักงานขนส่งเพื่อ จัดการขั้นตอนการต่ออายุประกันภัยภาคบังคับให้แล้วเสร็จเสียก่อน

6.2 ขั้นตอนที่ 2:ค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระที่เกี่ยวข้อง

หากเจ้าของเดิมเคยโดนใบสั่ง ไม่จ่ายภาษี มีเรื่องปัญหาสินเชื่อหรือค้างค่าชำระภาษีป้ายทะเบียนรถ จะต้องชำระค่าใช้จ่ายพวกนี้ก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ นอกจากนี้ จะต้องชำระภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ของปีนั้นๆก่อน หากผ่านในสองเดือนที่ผ่านมาได้ชำระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว ควรเอาใบเสร็จมาแนบไว้เพื่อเป็นหลักฐานในขั้นตอนตรวจสอบ

6.4 ขั้นตอนที่ 3: ยืนยันในเรื่องการตรวจสอบสภาพยานพาหนะว่าต้องมีหรือไม่

รถที่ต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) คือ รถที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี (รถยนต์) โดยนับตั้งเเต่วันที่จดทะเบียนรถครั้งแรก และสามารถเข้ารับการตรวจสภาพได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือนก่อนถึงวันครบกำหนดวันเสียภาษีประจำปี หรือวันสุดท้ายของงวดภาษี  

6.5 ขั้นตอนที่ 4: จัดการการโอนกรรมสิทธิ์

ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบสภาพรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาได้ ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนโอนรถยนต์และเสร็จสมบูรณ์ ณ สำนักงานขนส่ง

ขั้นตอนในการโอนรถยนต์

7. ดาวน์โหลดสัญญาการซื้อขายรถยนต์แบบกำหนดเองที่แนะนำ: Lawsnote DocPie

ไม่รู้จะเริ่มทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ยังไงใช่ไหม Lawsnote DocPie มีบริการทำหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ใหม่เพื่อคุณ

ค้นหาคำในกูเกิลจนเหนื่อยท้อใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์” “แบบสัญญาเช่าห้องพัก” หรือ “การเขียนสัญญาซื้อขายรถ แต่ก็ยังหาสัญญาซื้อขายรถยนต์ที่เข้ากับความต้องการและเหมาะสมกับสถานะการณ์ของตัวเองไม่เจอหรืออาจจะไม่แน่ใจว่าต้องเรื่องเทตเพลตสัญญายังไงใช่ไหม อย่าได้กังวลไป สัญญาซื้อขายรถยนต์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะสมกับความต้องการ ให้เป็นเรื่องของทีม Lawsnote DocPie ในการบริการทำหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ให้คุณ

Lawsnote DocPie ทีมทนายความที่มีสามารถและเชี่ยวชาญในการแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านกฎหมาย ช่วยเหลือในการเจรจาว่าความระหว่างคู่สัญญาและเขียนสัญญาข้อตกลงอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพทางกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่ตามมา

คลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อทีมทนายความของเราที่ความเชี่ยวชาญเพื่อบริการคุณ