หน้าหลัก|ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย » ขั้นตอนในการเข้าทำสัญญาจ้างแรงงาน และข้อสัญญาที่ควรระวัง เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือข้อพิพาทแรงงานที่จะเกิดขึ้น

ขั้นตอนในการเข้าทำสัญญาจ้างแรงงาน และข้อสัญญาที่ควรระวัง เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือข้อพิพาทแรงงานที่จะเกิดขึ้น

ขั้นตอนในการทำสัญญาจ้างแรงงาน และข้อสัญญาที่ควรระวัง เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือข้อพิพาทแรงงานที่อาจเกิดขึ้น

สัญญาจ้างแรงงานคืออะไร สัญญาจ้างแรงงานต้องมีการเซ็นสัญญาไหม มีเหตุการณ์อะไรบ้างที่สัญญาจ้างแรงงานอาจจะฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน สัญญาแรงงานจะสิ้นสุดตอนไหน บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทราบในการทำหนังสือสัญญาจ้างแรงงาน รวมถึงข้อควรระวังในการทำสัญญาจ้างแรงงาน โดยเรามีมีเทมเพลตสัญญาจ้างแรงงานและช่องทางการดาวน์โหลดเพื่อให้คุณนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย!

Table of Contents

1. อะไรคือสัญญาแรงงาน เนื้อหาสัญญาจ้างแรงงานที่ผู้ประกอบการควรรู้

ในฐานะนายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล (HR) หน้าที่งานของคุณอาจรวมถึงการให้ความช่วยเหลือพนักงานในการเซ็นสัญญาจ้างงาน สัญญาจ้างแรงงานมีบทบาทสำคัญต่อการจ้างงาน ดังนั้น ในบทความต่อไปนี้จะอธิบายประเด็นสำคัญของสัญญาแรงงานโดยละเอียดให้กับคุณ นอกจากนี้บทความนี้ยังจะแนะนำข้อควรระวังที่นายจ้างหรือลูกจ้างอาจจะกระทำการที่อาจฝ่าฝืนต่อกฎหมายแรงงานในสัญญาจ้างงาน ช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีจัดการข้อกำหนดเหล่านี้อย่างรอบคอบมากขึ้นเพื่อให้มั่นใจในความถูกต้องตามกฎหมายและความยุติธรรมระหว่างบริษัทและพนักงาน

(1) สัญญาแรงงานคืออะไร

สัญญาจ้างแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของนายจ้างและลูกจ้างทั้งสองฝ่าย

สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างนั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน ลูกจ้างใช้การทำงานแลกกับค่าจ้าง และนายจ้างจ่ายเงินเดือนเพื่อทำให้เป้าหมายในการจ้างงานบรรลุผล ดังนั้นสัญญาจ้างแรงงานที่ถูกกฎหมายมีความจำเป็นต้องระบุสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ยกตัวอย่างเช่น ลูกจ้างควรจะปฏิบัติตามหน้าที่งานและกฎของบริษัท มาตรงต่อเวลา และมีวันหยุด เงินค่าทำงานล่วงเวลา(OT) หรือสิทธิอื่น ๆ ในขณะเดียวกันนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด และมีประกันสังคมให้ จำเป็นต้องแบ่งหน้าที่งานให้เหมาะกับลูกจ้าง หรือมีการฝึกงานให้กับลูกจ้าง หรืออื่น ๆ

โดยปกติแล้ว สัญญาแรงงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา” และ “สัญญาจ้างแบบไม่กำหนดระยะเวลา”

สัญญาจ้างแบบไม่กำหนดระยะเวลา

สัญญาจ้างแบบไม่กำหนดระยะเวลา คือ ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างแรงงาน ตราบใดที่ลักษณะงานมีรูปแบบลักษณะ​ “ต่อเนื่อง” แต่นายจ้างมีความจำเป็นต้องระบุเนื้อหาสัญญาจ้างงานแบบสัญญาจ้างที่ไม่มีระยะเวลา ไม่สามารถใช้รูปแบบของสัญญาจ้างแบบกำหนดระยะเวลาได้ ซึ่งสัญญาจ้างแบบกำหนดระยะเวลาอาจมีผลเป็นการต่อสัญญาจ้างออกไป เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาได้ เช่น สัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นการจ้างงานเอาไว้ แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการจ้างและหมายความรวมถึงกรณีสัญญาจ้างทดลองงาน (คำพิพากษาฎีที่ 5131/2550) 

สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา

​​สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา คือ สัญญาจ้างงานที่มีระยะเวลากำหนดระบุในสัญญา เมื่อสัญญาครบกำหนดตามระยะเวลาลูกจ้างจะต้องออกจากงานเว้นแต่จะมีการต่อสัญญากับนายจ้าง ภายใต้สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาจะแบ่งออกเป็นสี่ประเภท: งานชั่วคราว งานระยะสั้น งานตามฤดูกาล และงานเฉพาะด้าน

  1. งานชั่วคราว หมายถึง งานที่ไม่ต่อเนื่อง ลักษณะงานแบบไม่ต่อเนื่อง มีระยะเวลาการทำงานภายใน 6 เดือน
  2. งานระยะสั้น หมายถึง งานที่ไม่ต่อเนื่องซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
  3. งานตามฤดูกาล หมายถึง งานที่ไม่ต่อเนื่องทำงานตามฤดูกาล แหล่งวัตถุดิบ หรือการขายในตลาด โดยมีระยะเวลาการทำงานไม่เกิน 9 เดือน
  4. งานเฉพาะด้าน หมายถึง งานไม่ต่อเนื่องแต่สามารถแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด หากระยะเวลาทำงานเกิน 1 ปี ควรรายงานให้หน่วยงานผู้มีอำนาจอนุมัติ

ตัวอย่างของสถานการณ์ทั่วไปที่ใช้สัญญาจ้างแบบกำหนดระยะเวลา ได้แก่ การมอบหมายให้ช่างไม้และช่างประปาร่วมมือกันระหว่างการก่อสร้างและตกแต่ง งานเกษตรตามฤดูกาล งานระยะสั้นภาคฤดูร้อนสำหรับพนักงานเคาน์เตอร์ร้านค้า งานโฆษณาเฉพาะสำหรับเอเจนซี่โฆษณา ฯลฯ

สัญญาจ้างแรงงาน สามารถแบ่งออกได้เป็น สอง ประเภท

(2)สัญญาจ้างแรงงานควรมีเนื้อหาอะไรบ้าง

  1. เนื้อหางานและสถานที่ปฏิบัติงาน:นายจ้างควรระบุขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบและสถานที่ทำงานของลูกจ้างให้ชัดเจน หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของงานหรือสถานที่ปฏิบัติงาน จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเสมอ
  2. เวลาทำงานและกฎการลางาน:นายจ้างควรระบุเวลาเริ่มและเลิกงาน เวลาพัก การลาหยุด วันหยุดราชการ วันหยุดชดเชย กฎการลาหยุดลาป่วยและกฎการเปลี่ยนงานหรือแลกงาน
  3. เงินเดือน: เงินเดือนเท่าไร การปรับเงินเดือน การคิดคำนวณเงิน วันที่เงินเดือนออกและวิธีการจ่ายเงินหรือกฎที่เกี่ยวข้อง
  4. ขั้นตอนในการลาออกหรือเกษียณอายุของพนักงาน: ควรระบุกฎและขั้นตอนในการลาออก ยกเลิกสัญญา เลิกจ้าง และเกษียณอายุของพนักงาน
  5. เงินค่าชดเชย เงินเกษียณอายุและเงินโบนัสอื่นๆตามที่กำหนด: ควรระบุขั้นตอนเวลาและวิธีการจ่ายเงิน
  6. ค่าใช้จ่ายที่พนักงานต้องรับผิดชอบเอง: พนักงานควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกี่ยวกับงาน เช่น ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์หรืออื่น ๆ
  7. ความสะอาดและความปลอดภัยในงานที่เกี่ยวข้อง: บริษัทและพนักงานควรทำตามกฎที่เกี่ยวข้องในเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยของบริษัท
  8. การฝึกงานของพนักงาน: พนักงานมีความจำเป็นหรือไม่ ในการเข้าร่วมการฝึกงาน
  9. โบนัสพิเศษ: โบนัสทุกๆ3ไตรมาท โบนัสตอนสิ้นปี หรือโบนัสอื่นๆตามกฎที่กำหนดไว้รวมถึงวิธีการจ่ายโบนัส
  10. มาตรการชดเชยภัยพิบัติจากการทำงานและมาตรการเงินอุดหนุนการเจ็บป่วยและโรคทั่วไป: กำหนดมาตรการชดเชยภัยพิบัติจากการทำงานและเงินอุดหนุนสำหรับคนงานที่ไม่สามารถทำงานได้เมื่อต้องเผชิญกับการบาดเจ็บหรือโรคทั่วไป
  11. กฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัท: ระบุกฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัทที่พนักงานควรปฏิบัติให้ชัดเจน
  12. วิธีการให้รางวัลและการลงโทษ: เช่น การให้รางวัลและการสร้างแรงจูงใจในการทำงานโดยให้รางวัลเป็นเงินสด เป็นต้น
  13. สิทธิและภาระผูกพันด้านแรงงาน: จัดทำรายการข้อกำหนดการรักษาความลับ การห้ามทำงานกับบริษัทคู่แข่ง และข้อกำหนดอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและภาระผูกพันด้านแรงงาน

​​2. การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน และระยะเวลาในการบอกกล่าวเลิกจ้าง

หลังจากได้อ่านเนื้อหาเบื้องต้นของสัญญาจ้างแรงงานแล้ว เรามาเรียนรู้เงื่อนไขตามกฎหมายสำหรับการบอกเลิกสัญญาจ้างงาน มีหลายสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามในสัญญาจ้างแรงงานไม่เพียงแต่เมื่อเซ็นในสัญญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการยกเลิกสัญญาแรงงานด้วย ข้อมูลต่อไปนี้จะกล่าวถึงเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเมื่อต้องการจะบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน เพื่อช่วยให้นายจ้างและลูกจ้างได้เข้าใจข้อกำหนดของระยะเวลาในการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยไม่ตั้งใจ

(1) เหตุผลที่นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายภายใต้กฎหมายแรงงานและเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม หมายความว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ซึ่งเหตุผลของการเลิกจ้างดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นเหตุผลที่นายจ้างอาจยกขึ้นเป็นเหตุเลิกจ้างได้ และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม แต่นายจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งหากไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า จะไม่ถือว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย:

• เลิกกิจการหรือโอนกิจการให้ผู้อื่น

• นายจ้างมียอดขาดทุนสะสมหรือประสบภาวะขาดทุน

เหตุสุดวิสัยทำให้งานถูกระงับเป็นเวลานานกว่า 1 เดือนเมื่อลักษณะของธุรกิจเปลี่ยนแปลง มีความจำเป็นต้องลดกำลังแรงงาน และไม่มีตำแหน่งงานที่เหมาะสมเลิกจ้างเนื่องจากอาการเจ็บป่วยของลูกจ้าง

หลังจากนายจ้างมีเหตุผลในการเลิกจ้างงานที่เป็นธรรมตามกฎหมายแล้ว ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นายจ้างจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบลูกหน้าเพื่อให้ลูกจ้างมีเวลาเตรียมตัวในการหางานใหม่ นายจ้างอาจบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกิดสามเดือน โดยหากนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญานายจ้างอาจจะต้องจ่ายเงินที่เรียกว่า “สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า” สำหรับกรณีที่นายจ้างไม่ประสงค์จะให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในวันที่บอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ทั้งนี้นายจ้างยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมายดังนี้

ค่าชดเชยการเลิกจ้าง ม.118 พรบ. แรงงาน

ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวนเป็นหน่วย

ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 90 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวนเป็นหน่วย

ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 140 วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 140 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวนเป็นหน่วย

ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีแต่ไม่ครบ 20 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวนเป็นหน่วย

ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกัน 20 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวนเป็นหน่วย

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ได้บัญญัติเกี่ยวกับเหตุอันสมควรที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยนายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย ดังต่อไปนี้  

  1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  2. ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  3. ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 
  4. ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด 
  5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 
  6. ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด หากเป็นความผิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยประมาทหรือความลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายด้วย 

(2) ลูกจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานได้อย่างไร

การจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาตามสัญญาลูกจ้างย่อมสิ้นสุดความเป็นลูกจ้างเมื่อครบกำหนดตามสัญญาทันที ส่วนกรณีที่เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การลาออกนั้น ก็ยังจำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนลาออก อย่างน้อย 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง เพราะตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แล้ว ลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้า หากไม่บอก หรือออกไปกะทันหัน หากการกระทำดังกล่าวเกิดปัญหาหรือเกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างอาจจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ โดยนายจ้างต้องมีหลักฐานพิสูจน์ให้ชัดเจนว่าการลาออกของลูกจ้างนั้นทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือนายจ้างอย่างชัดเจน หากไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงความเสียหายใดๆ ที่จะสามารถเรียกค่าชดเชยกับลูกจ้างได้ ก็จะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง

(3) ผู้จ้างกระทำผิดหรือละเมิดกฎหมายแรงงานต้องรับผิดอะไรบ้าง

ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 144 หากนายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดอาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท

3.สัญญาแรงงานจำเป็นต้องเซ็นสัญญาไหม เหตุการณ์อะไรบ้างที่สัญญาจ้างแรงงานฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน

เห็นแบบนี้ก็อาจมีคำถามว่าต้องทำสัญญาจ้างแรงงานไหม สัญญาจ้างแรงงานฝ่าฝืนกฎหมายมาตรฐานแรงงานหรือไม่ บทความข้างล่างต่อไปนี้จะระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นทั่วไปของสัญญาจ้างงานและแสดงรายการข้อตกลงที่ไม่ถูกต้องหลายประการซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแรงงาน เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ เข้าใจสัญญาจ้างแรงงานอย่างครอบคลุมมากขึ้นและหลีกเลี่ยงการถูกรายงานหรือดำเนินคดีเนื่องจากฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน

(1) สัญญาแรงงานจำเป็นต้องลงนามในสัญญาหรือไม่ ถ้าหากสัญญาแรงงานไม่ได้มีต้นฉบับและสำเนา จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่

ตามกฎหมายสัญญาจ้างแรงงานไม่ได้กำหนดรูปแบบการจัดทำสัญญาไว้แต่อย่างใด ตราบใดที่ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงกัน แม้ว่าจะไม่มีการลงนามในสัญญาจ้างงานก็ตาม อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อตกลงมีอยู่เฉพาะในรูปแบบปากเปล่าก็อาจทำให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจในเรื่องที่ตกลงกันคลาดเคลื่อนหรือไม่มีการระบุรายละเอียดที่ชัดเจน  เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิเสธที่จความมีอยู่จริงของสัญญาหรือข้อความในสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายอาจจะไม่สามารถรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนได้

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างผู้เขียนขอแนะนำให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีข้อพิพาทด้านแรงงานเกิดขึ้น จะมีหลักฐานชัดเจน เพื่อใช้ในการปกป้องสิทธิของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

(2) มีเหตุการณ์อะไรบ้างที่สัญญาจ้างแรงงานฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน

เนื่องจากกฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หากสัญญาจ้างขัดแย้งกับกฎหมายแรงงานย่อมเป็นขัดต่อความสงบเรียบร้อยส่งผลให้ข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานนั้น ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150  และอาจทำให้บริษัทหรือนายจ้างได้รับโทษทางอาญาตาม  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 144 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาทด้วยในกรณีดังต่อไปนี้

ปัญหาการฝ่าฝืนกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่พบบ่อยในสัญญาจ้างแรงงาน

  1. การเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ตามมาตรา 10
  2. กรณีที่นายจ้างตกลงในสัญญาจ้างว่าสามารถให้ลูกจ้างออกจากโดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17
  3. กรณีที่นายจ้างให้ทำงานเกินกว่า 8 ชั่วโมง แต่ไม่มีการจ่ายเงินค่าล่วงเวลา ตามมาตรา 23
  4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
  5. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด
  6. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินอัตราน้ำหนักตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  7. นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานฝ่าฝืนตามมาตรา 38
  8. นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานฝ่าฝืนในเรื่องของการใช้แรงงานหญิง
  9. นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นการใช้แรงงานเด็กทำงานฝ่าฝืนในเรื่องของการใช้การใช้แรงงานเด็ก
  10. นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระตามมาตรา 57/1
  11. นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงาน หรือจัดให้ลูกจ้างหยุดงานน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
  12. นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนด
  13. นายจ้างฝ่าฝืนไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118

4. ไม่รู้จะเริ่มทำสัญญาจ้างแรงงานยังไงใช่ไหม Lawsnote DocPie มีบริการจัดทำหนังสือสัญญาจ้างแรงงานให้กับคุณ

ค้นหาคำในกูเกิลจนเหนื่อยแล้วใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็น การดาวน์โหลดเทมเพลตสัญญาจ้างแรงงาน” หรือ “การดาวน์โหลดเทมเพลตสัญญาการจ้างงาน”  แต่ก็ยังไม่สามารถค้นหาสัญญาจ้างแรงงานที่ตรงกับความต้องการหรือเหมาะสมกับเงื่อนไขการจ้างงานของตนเองใช่ไหม อย่าได้กังวลไป ให้สัญญาจ้างแรงงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ เป็นเรื่องของทีม Lawsnote DocPie ในการบริการทำหนังสือสัญญาจ้างแรงงานให้คุณ

Lawsnote DocPie ทีมทนายความที่มีสามารถและเชี่ยวชาญในการแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านกฎหมาย ช่วยเหลือในว่าความ รวมถึงการเจรจาเงื่อนไขที่จะควรระบุระหว่างคู่สัญญาและเขียนสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีผลบังคับใช้ได้ในทางกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่อาจจะตามมาในภายหลัง

คลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อทีมทนายความของเราที่ความเชี่ยวชาญเพื่อบริการคุณ