การร่างหนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วนมีความสำคัญแค่ไหน สัญญาห้างหุ้นส่วนควรมีเนื้อหาอะไรบ้าง บทความต่อไปนี้จะแนะนำหนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วนที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีประโยชน์ต่อการใช้งาน อีกทั้งยังมีตัวอย่างของวิธีการกรอก เทมเพลตหนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน คำแนะนำของขั้นตอนการลงนามในสัญญา และสุดท้ายสามารถดาวน์โหลดสัญญาหุ้นส่วนเพื่อให้คุณนำไปใช้งานได้จริง!
Table of Contents
Toggle1. การร่างหนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วนมีความสำคัญแค่ไหน ทำไมคนที่จะเริ่มทำธุรกิจถึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาห้างหุ้นส่วน
การเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการก็เหมือนกับเกมส์ที่คุณต้องผ่านหลายระดับ หลาย ๆ คนอยากจะเริ่มต้นเปิดบริษัทด้วยการเป็นหุ้นส่วนในการเริ่มต้นธุรกิจ อย่างไรก็ตาม “ห้างหุ้นส่วน” และ “บริษัท” ในแนวความคิดทางกฎหมายมีความหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือการจดทะเบียนบริษัทนั้น ล้วนแต่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนอาจจะมีขั้นตอนน้อยกว่าการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท อีกทั้งการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นยังเป็นวิธีการทางธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำกว่าและมีขั้นตอนที่ซับซ้อนน้อยกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่บ้าง การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนโดยทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรจะสามารถเพิ่มความสำเร็จให้กับธุรกิจได้ ซึ่งในกรณีที่ไม่มีการทำบันทึกข้อตกลงนั้น หากหุ้นส่วนไม่มีความซื่อสัตย์อาจทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นขาดทุนและอาจเลิกกิจการได้
เนื่องจากการดำเนินการหลัก มติ และกิจการอื่น ๆ ของห้างหุ้นส่วนนั้นขึ้นอยู่กับสัญญาห้างหุ้นส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่รุนแรงและการล้มละลายในห้างหุ้นส่วน จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการจัดทำสัญญาที่สามารถกำหนดสิทธิและความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ว่าห้างหุ้นส่วนนั้นคืออะไร เนื้อหาควรมีอะไร วิธีการร่างหนังสือสัญญาห่างหุ้นส่วนมีอะไรบ้าง บทความนี้จะอธิบายเนื้อหาเบื้องต้นและแนวคิดของสัญญาหุ้นส่วนและยกตัวอย่างการกรอกสัญญาห้างหุ้นส่วนเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจทำธุรกิจ หวังว่าหลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณจะสามารถเริ่มก้าวแรกในการเริ่มต้นธุรกิจได้สำเร็จ
ร่างสัญญาห้างหุ้นส่วนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดข้อพิพาทกับหุ้นส่วนที่ตกลงทำกิจการร่วมกัน
สัญญาหุ้นส่วนหรือที่เรียกว่า “สัญญาจัดตั้งหางหุ้นส่วน” เรียกว่า “สัญญาห้างหุ้นส่วน” วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินงานของหุ้นส่วนและกำหนดความรับผิดชอบ สิทธิ และภาระผูกพันระหว่าง หุ้นส่วนซึ่งรวมถึงการแสวงหากำไร
สัญญาห้างหุ้นส่วนเป็นเหมือนรูปแบบสำหรับห้างหุ้นส่วนในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วน หากพบเจอปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหุ้นส่วนจะต้องกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ผู้เป็นหุ้นส่วนปฏิบัติตาม เมื่อเกิดข้อขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน โดยทั่วไป สิ่งที่ควรเขียนในสัญญาห้างหุ้นส่วนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของคู่สัญญาร่วมลงทุนหุ้นส่วน แต่ต้องควรที่จะระบุเนื้อหาดังต่อไปนี้ด้วย
・ชื่อห้างหุ้นส่วนและวัตถุประสงค์หรือประเภทของกิจการ
สัญญาหุ้นส่วนควรระบุชื่อและเนื้อหาธุรกิจหลักของห้างหุ้นส่วนอย่างชัดเจน เพื่อให้หุ้นส่วนทุกคนสามารถเข้าใจและสนับสนุนทิศทางธุรกิจของห้างหุ้นส่วนได้อย่างเต็มที่
・การจัดสรรกิจการของห้างหุ้นส่วน
หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของห้างหุ้นส่วนแล้วจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตและผู้ดำเนินการกิจการห้างหุ้นส่วน รวมทั้งผู้ที่สามารถเป็นตัวแทนของห้างหุ้นส่วนต่อภายนอกได้ หรือมีข้อกำหนดว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องใดโดยเฉพาะ โดยสามารถระบุตำแหน่งรวมถึงรายละเอียดและเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอำนาจไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งการแบ่งแยกความรับผิดชอบและหลังจากกำหนดขอบเขตอำนาจแล้ว จะทำให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบหน้าที่ในส่วนของตนเพื่อมีส่วนร่วมและส่งเสริมการพัฒนาของห้างหุ้นส่วน เช่น การตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการหลายคน หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนอาจมีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการกิจการของห้างหุ้นส่วนได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่ต้องปรึกษาหารือหรือขอความยินยอมจากหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่น แต่การดำเนินการนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนสามัญจึงจะมีผลผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ
・ทุนการลงทุน
ในการจัดทำสัญญาห้างหุ้นส่วนจำเป็นต้องกำหนดวิธีการลงทุน สัดส่วนการลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละราย โดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นหนึ่งคะแนน โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลงหุ้น โดยสัญญาห้างหุ้นส่วนควรกำหนดให้ชัดเจนว่า การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนเป็นไปตามเสียงข้างมากหรือผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีอำนาจจัดการห้างหุ้นส่วนได้
・ หุ้นและการโอนหุ้นและการรับผู้เป็นหุ้นส่วนใหม่
ในขณะเดียวกัน ควรระบุให้แน่ชัดว่าหุ้นส่วนสามารถโอนหุ้นของตนได้หรือไม่ และต้องมีการกำหนดข้อจำกัดในการโอนหุ้นให้ชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิและผลประโยชน์ของหุ้นส่วนทุกคนได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทเกี่ยวกับประเด็นการโอนหุ้นในอนาคต
・วิธีการคิดกำไรและขาดทุน ระยะเวลาของการคิดกำไรขาดทุน
การดำเนินธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วนนั้น ขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ ย่อมมีขึ้นมีลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ในการจัดทำสัญญาห้างหุ้นส่วนจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวิธีการจัดทำบัญชีในไตรมาสประจำปีและการจัดสรรกำไรขาดทุน เช่น การจัดสรรกำไรตามอัตราส่วนเงินทุนของหุ้นส่วนแต่ละคน โดยพิจารณาจากสัดส่วนการลงหุ้นของแต่ละคน เป็นต้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน
นอกจากนี้ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนเกิดภาวะขาดทุน จะต้องกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องเพิ่มทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงินอื่น ๆ อย่างชัดเจนด้วย
・กำไรของห้างหุ้นส่วน
มาตรา 1012 อันสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นห้างหุ้นส่วนเกิดขึ้นเพราะคู่สัญญาต่างประสงค์ที่จะแสวงหาผลกำไรจากกิจการ ดังนั้น ในส่วนของค่าตอบแทนจึงมาจากผลกำไร เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน จึงควรกำหนดเงื่อนไขของการแบ่งปันผลกำไรให้ชัดเจน
・ข้อยุติการเป็นหุ้นส่วน
การชำระบัญชีและการจัดการทรัพย์สินเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ เมื่อสิ้นสุดการเป็นหุ้นส่วน ดังนั้นระยะเวลาของห้างหุ้นส่วน เงื่อนไขการเลิกห้างหุ้นส่วน วิธีการชำระห้างหุ้นส่วนหลังเลิกกิจการ และวิธีการแบ่งทรัพย์สินหลังจากการชำระบัญชี ฯลฯ โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาห้างหุ้นส่วน อีกทั้งยังต้องระบุว่าใครเป็นผู้ชำระบัญชี ซึ่งอาจเป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองหรือบุคคลภายนอกที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมอบหมาย
・ข้อกำหนดห้ามค้าแข่งกับกิจการของห้างหุ้นส่วน
วันหนึ่งหากหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจะออกจากการเป็นหุ้นส่วน ไม่ว่าด้วยเหตุผลหรือความขัดแย้งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก็ดี เพื่อให้กระบวนการออกจากการเป็นหุ้นส่วนเป็นไปอย่างราบรื่นควรมีการระบุหรือมีข้อตกลงในเรื่องการไม่แข่งขันหรือประกอบกิจการในลักษณะเดียวกับห้างหุ้นส่วนไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเพื่อป้องกันไม่ให้คู่ค้าใช้ข้อมูลในห้างหุ้นส่วนเพื่อดำเนินธุรกิจมาแข่งขันกับห้างหุ้นส่วน หลังจากออกจากการเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนแล้ว ซึ่งหากไม่มีการระบุเงื่อนไขการห้ามค้าแข่งกับกิจการในลักษณะเดียวกับห้างหุ้นส่วนแล้ว อาจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง
การกำหนดข้อห้ามนั้น สิ่งที่ต้องพึงระวังมีดังนี้ :
ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนสละตำแหน่งและสถานะในช่วงระยะเวลาของหุ้นส่วนนั้น ควรจะให้บุคคลนั้นได้รับข้อมูลภายในพิเศษหรือไม่
จำกัดระยะเวลาและขอบเขตของข้อจำกัดการเป็นคู่แข่งกัน ควรมีความชัดเจนและสมเหตุสมผลหรือไม่ หากขอบเขตของข้อจำกัดกว้างเกินไป อาจทำให้เกิดข้อจำกัดที่ไม่จำเป็นและความสูญเสียต่อพันธมิตรหุ้นส่วนด้วยกันเอง
หรือในกรณีที่หุ้นส่วนควรจะได้รับค่าชดเชยที่สมเหตุสมผลเพื่อชดเชยความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากคู่แข่งหุ้นส่วนที่ถอนสิทธิด้วยกันเองไหม
วิธีการระงับข้อพิพาท
เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นในห้างหุ้นส่วนขึ้นนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเวลาและทรัพยากรมากเกินไป แนะนำให้กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทในข้อตกลงหุ้นส่วนล่วงหน้ารวมถึงการเลือกอนุญาโตตุลาการหรือกระบวนการดำเนินคดีทางแพ่งและระบุให้ชัดเจนว่าศาลใด หรือสถาบันอนุญาโตตุลาการมีอำนาจพิจารณาคดี
- สัญญาห้างหุ้นส่วนมีประสิทธิผลตามกฎหมายหรือไม่?
มาตรา 1012 สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ดังนั้นแม้ว่าการตกลงจัดตั้งห้างหุ้นส่วนได้ตกลงกันด้วยวาจา สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนดังกล่าวก็มีผลบังคับใช้ระหว่างคู่สัญญา ซึ่งมีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาตามกฎหมาย
แม้ว่าคำสัญญาด้วยวาจาจะมีผลผูกพันทางกฎหมายด้วยก็ตาม แต่เมื่อมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นและต้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาล คู่สัญญาอีกฝ่ายอาจปฏิเสธความมีอยู่จริงของสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้กระทำด้วยวาจา ดังนั้น เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกฝ่าย จึงควรระบุข้อตกลงตามสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเป็นลายลักษณ์อักษรและกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วนไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้ อีกทั้ง - เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันจะชำระบัญชีทรัพย์สินภายหลังได้อย่างไร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1061 เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน หรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย
ถ้าการเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดีหรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดี ท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อเจ้าหนี้คนนั้น หรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย
การชำระบัญชีนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำ หรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน
จะได้เห็นได้ว่า กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ดังนั้นการชำระบัญชีทรัพย์สินจะเกิดขึ้นเมื่อห้างหุ้นส่วนได้เลิกกัน แม้ว่าจะเลิกมานานแล้วก็ตาม ก็สามารถที่จะจัดการให้มีการชำระบัญชีได้ (เทียบเคียง คำพิพากษาฎีกา 302/2488)
2. สี่ขั้นตอนในการชำระบัญชีทรัพย์สินของหุ้นส่วน
- ขั้นตอนที่ 1 การชำระบัญชีโดยหุ้นส่วนทั้งหมดหรือผู้ชำระบัญชีที่ได้รับการแต่งตั้งจากห้างหุ้นส่วน
- ขั้นตอนที่ 2 ให้ชำระหนี้ทั้งหลายซึ่งค้างชำระแก่บุคคลภายนอก
- ขั้นตอนที่ 3 ให้ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง
- ขั้นตอนที่ 4 ให้คืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงหุ้น
หากมีทรัพย์เหลืออยู่อีกเท่าไร ก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน
กระบวนการชำระหนี้อสังหาริมทรัพย์อาจดูง่าย แต่ในความเป็นจริงนั้นอาจเกิดคำถามและข้อโต้แย้งต่าง ๆ มากมายเพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่จำเป็น จึงควรที่จะร่างสัญญาห้างหุ้นส่วนที่ชัดเจนและกระทำอย่างระมัดระวังในตั้งแต่เริ่มตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนและระบุเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีทรัพย์สินให้ชัดเจนเพื่อให้สามารถรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเองได้
3. ตัวอย่างการกรอกสัญญาห้างหุ้นส่วนและคำแนะนำขั้นตอนการลงนามในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
หลังจากเข้าใจถึงความสำคัญของสัญญาหุ้นส่วนแล้ว ต่อไปจะเป็นตัวอย่างการระบุข้อความในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและขั้นตอนการลงนามในสัญญาเพื่อให้คุณสามารถร่างและลงนามในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนได้ง่ายขึ้นดังนี้
ห้าขั้นตอนในการลงนามในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
・เลือกผู้ที่จะมาเป็นหุ้นส่วนที่มีความน่าเชื่อถือ
ในการเลือกบุคคลเพื่อมาเป็นหุ้นส่วนนั้น คุณจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น คุณสมบัติ ประสบการณ์ในการบริหารงาน รวมถึง ความซื่อสัตย์เพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นส่วนที่คุณเลือกมีมุมมองการทำธุรกิจที่เหมือนกันและสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจร่วมกันได้
・กำหนดเงื่อนไขรวมถึงอำนาจในการบริหารจัดการห้างหุ้นส่วน
กำหนดเงื่อนไขสำหรับหุ้นส่วนว่าหุ้นส่วนคนไหนมีอำนาจทำอะไร ใครสามารถตัดสินใจหรือการตัดสินใจในการทำกิจการใด ต้องปรึกษาหารือระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน เช่น หุ้นส่วนรายใดมีอำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย ซึ่งการตัดสินใจอาจต้องได้รับความเห็นพ้องต้องกันจากหุ้นส่วนทั้งหมดก่อนจึงจะสามารถนำไปปฏิบัติได้ เป็นต้น เพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคตที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน
・พิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
เมื่อมีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเข้าเป็นหุ้นส่วนใหม่ การเพิ่มทุน หรือการออกจากหุ้นส่วน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อการเป็นหุ้นส่วนและการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น จะต้องหารือล่วงหน้า เพื่อให้มีมาตรการในการจัดการแก้ไขปัญหาไปในทางที่สอดคล้องกัน
・กำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน
อ้างอิงจากบทความในย่อหน้าแรกในจุดที่สำคัญต่าง ๆ ในเนื้อหาของสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของหุ้นส่วน โดยการจัดทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนควรที่จะกำหนดสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ของหุ้นส่วนแต่ละคน ซึ่งควรระบุเรื่องดังกล่าวไว้ให้ชัดเจน รวมถึงเงื่อนไขของสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
・ลงลายมือชื่อในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนด้วยตนเอง
หลังจากที่มีการตกลงเงื่อนไขทั้งหมดอย่างชัดเจนแล้ว ทุกฝ่ายจะต้องลงนามในสัญญาเป็นด้วยตนเองเพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนได้ทำข้อตกลงทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน โดยเนื้อหาของสัญญา ที่หุ้นส่วนทุกคนได้ลงนามนั้นจะถูกใช้เพื่อเป็นหลักฐาน เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4. คุณยังคงค้นหา "สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน" และ "ห้างหุ้นส่วนคืออะไร" บนอินเทอร์เน็ตอยู่หรือไม่
หุ้นส่วนแต่ละรายมีลำดับความสำคัญและมีรายละเอียดเฉพาะสำหรับหุ้นส่วนแต่ละบุคคล หากคุณเพียงปฏิบัติตามเทมเพลตสัญญาหุ้นห้างส่วนทั่วไป ก็อาจจะไม่ได้ระบุข้อความหรือข้อจำกัดซึ่งอาจเป็นข้อบกพร่องซึ่งจะส่งผลเสียต่อธุรกิจ
Lawsnote DocPie มีทีมทนายความที่มีสามารถและเชี่ยวชาญในการแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านกฎหมาย ช่วยเหลือในว่าความ รวมถึงการเจรจาเงื่อนไขที่จะควรระบุระหว่างคู่สัญญาและเขียนสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีผลบังคับใช้ได้ในทางกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่อาจจะตามมาในภายหลัง
คลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อทีมทนายความของเราที่ความเชี่ยวชาญเพื่อบริการคุณ