หน้าหลัก|ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย » วิเคราะห์สัญญารักษาความลับ หรือ  NDA อย่างละเอียด ตัวช่วยสำคัญในการป้องกันความลับไม่ให้รั่วไหลออกไป

วิเคราะห์สัญญารักษาความลับ หรือ  NDA อย่างละเอียด ตัวช่วยสำคัญในการป้องกันความลับไม่ให้รั่วไหลออกไป

วิเคราะห์สัญญารักษาความลับ หรือ NDA อย่างละเอียด ตัวช่วยสำคัญในการป้องกันความลับไม่ให้รั่วไหลออกไป

NDA คืออะไร หนังสือรักษาความลับมีผลในทางกฏหมายอย่างไร บทความนี้ฉบับเดียวจะพาคุณไปทำความเข้าใจว่า อะไรคือหนังสือสัญญารักษาความลับ หรือ NDA และหนังสือสัญญาดังกล่าวควรมีเนื้อหาสัญญาว่าอย่างไร รวมทั้งวิเคราะห์ถึงประโยชน์ของ NDA ว่าคืออะไร โดยท้ายบทความนี้มีตัวอย่างของ  NDA เพื่อใช้ในการอ้างอิง และการทำเทมเพลตของหนังสือสัญญารักษาความลับ  NDA ขึ้นมาใหม่ เพื่อคุณโดยเฉพาะ

Table of Contents

1. ความหมาย ประโยชน์และความสำคัญของ NDA

1.1 NDA คืออะไร

NDA ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า Non-Disclosure Agreement ดังนั้นแล้วในภาษาไทยจึงมีความหมายว่าสัญญาไม่เปิดเผยความลับ หรืออาจจะเรียกเป็นหนังสือสัญญารักษาความลับ หรือ nda agreement เป็นต้น อย่างไรก็ตามสัญญารักษาความลับจะสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า CDA ซึ่งย่อมาจากชื่อเต็มคือ Confidential Disclosure Agreements นั่นเอง

โดย NDA และ CDA นั้นไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน คือ เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาความลับของคู่สัญญาทั้งนี้ สัญญา NDA มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเก็บความลับและไม่ปล่อยให้ข้อมูลสำคัญของคู่สัญญาบริษัทรั่วไหลออกไป ป้องกันไม่ให้ธุรกรรม ความลับสำคัญทางธุรกิจ ข้อมูลคู่ค้าทางธุรกิจและข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ภายในบริษัทรั่วไหลไปยังบุคคลที่สามและทำให้บริษัทได้รับความสูญเสีย ดังนั้นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงต้องมีการลงนามและแสดงรายการข้อมูลที่สำคัญลงใน NDA อย่างชัดเจน รวมทั้งลงรายละเอียดข้อมูลที่เป็นความลับเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทคู่สัญญาจะปฏิบัติตามพันธกรณีการรักษาความลับของตน

1.2 สถานการณ์แบบไหนที่ต้องเซ็นสัญญารักษาความลับ

(1) การร่วมมือกันทางธุรกิจ

ความร่วมมือทางธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นความลับต่างๆ เช่น แผนทางธุรกิจ กลยุทธ์ทางการตลาด รายชื่อลูกค้า ข้อมูลทางเทคนิค และอื่น ๆ ข้อมูลทางเทคนิค  ถือเป็น ข้อมูลที่เป็นความลับที่สำคัญมากในการทำธุรกิจเพราะ ถือเป็นข้อมูลอันเป็นกุญแจของการแข่งขันหลักของบริษัทและเป็นเนื้อหาสำคัญที่ต้องระบุลงไปในหนังสือสัญญารักษาความลับ เนื่องจากหากข้อมูลดังกล่าวตกไปอยู่ในมือของคู่แข่งหรือบุคคลที่สาม ก็อาจถือเป็นภัยอันตรายต่อความมั่นคงขององค์กรได้

(2) outsource และความร่วมมือของ outsource

บริษัทหลายแห่งอาจมอบความไว้วางใจให้แก่บุคลากรหรือองค์กรภายนอกในการทำโครงการจ้างรับเหมาทั่วไป เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาซอฟต์แวร์ การวิจัยการตลาด การทำบัญชีส่งภาษี และอื่นๆ เพื่อให้ outsource สามารถทำงานได้ราบรื่นขึ้น บริษัทฝั่งผู้จ้างจึงมักจะบอกข้อมูลความลับทางธุรกิจที่สำคัญและแผนการพัฒนาธุรกิจให้กับธุรกิจที่ว่าจ้าง ซึ่งทางเลือกที่ดีที่สุดคือการทำสัญญารักษาความลับและลงนามเซ็นชื่อร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่เป็นความลับจะไม่รั่วไหลออกสู่ภายนอก

(3) ความร่วมมือกันทางเทคนิค

เมื่อทั้งสองบริษัทมีส่วนร่วมในความร่วมมือกันทางเทคนิค พวกเขามักจะแบ่งปันรายละเอียดทางเทคนิค ข้อมูลสิทธิบัตร และผลการวิจัยและพัฒนาซึ่งกันและกันเนื่องจากเทคโนโลยีระดับสูงและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้มักเป็นพื้นฐานในผลกำไรหลักขององค์กร สัญญา NDA จึงจำเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่เป็นความลับอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) การรับสมัครบุคคลผู้มีความสามารถ

เมื่อบริษัทรับสมัครผู้มีความสามารถเข้ามาในบริษัท สัญญาจ้างงานที่ลงนามโดยทั้งสองฝ่ายมักจะรวมข้อกำหนดการรักษาความลับของสัญญา หรือ NDAไว้ด้วยเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานไม่สามารถเปิดเผยความลับของบริษัทได้ ไม่ว่าจะในระหว่างการจ้างงานหรือในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากออกจากบริษัท

(5) สถานการณ์อื่น ๆ ที่อาจมีการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร

นอกเหนือจากรูปแบบความร่วมมือที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อใดก็ตามที่มีสถานการณ์ใด ๆ ที่ความลับขององค์กรอาจถูกเปิดเผย แนะนำให้มีการลงนามในสัญญา NDA เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการรั่วไหลของข้อมูลอันเป็นความลับและสร้างความเสียหายให้แก่บริษัท

สถานการณ์แบบไหนที่ต้องเซ็นสัญญารักษาความลับ

2. คู่มือแนะนำวิธีการเขียนข้อตกลงและเนื้อหาของสัญญารักษาความลับ: 7เนื้อหาสำคัญของเนื้อหาที่จำเป็นในหนังสือสัญญา NDA

เนื่องจากสถานการณ์ ธุรกิจ และความต้องการภายในองค์กรที่ไม่เหมือนกัน หนังสือสัญญารักษาความลับอาจจะมีวิธีเขียนที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามใน 1 ฉบับ สัญญารักษาความลับที่สมบูรณ์นั้นควรจะประกอบด้วย 7 ข้อหลัก ๆ ตามบทความด้านล่างนี้

2.1 ประเภทของสัญญารักษาความลับ

สัญญา NDA แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามวัตถุประสงค์ที่มีหน้าที่ในการรักษาความลับ:

(1) ข้อตกลงสัญญา NDA แบบฝ่ายเดียว

ในความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่าย มีเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นที่เปิดเผยข้อมูลแก่อีกฝ่าย ในสัญญาฝ่ายที่ได้รับข้อมูลจะถือว่ามีหน้าที่ในการรักษาความลับและสัญญาว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลที่ให้ไว้ ข้อตกลงสัญญา NDA แบบฝ่ายเดียว กรณีทั่วไป ได้แก่: นายจ้างกำหนดให้พนักงานลงนามในสัญญาการรักษาความลับ, บริษัทกำหนดให้นักบัญชีตรวจสอบลงนามสัญญา NDA เป็นต้น

(2) ข้อตกลงสัญญา NDA ระหว่างทั้งสองฝ่าย

ในระหว่างความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่าย ทั้งสองฝ่ายจะเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับต่อกัน ในกรณีดังกล่าวนี้ ข้อตกลง NDA จะกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ในการรักษาความลับอย่างชัดเจน

(3) ข้อตกลงสัญญา NDA พหุภาคี

เป็นเรื่องปกติในโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ที่จะเกี่ยวข้องกับหน่วยธุรกิจมากกว่า 2 หน่วย ในกรณีนี้ การลงนามในสัญญา NDA จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมควรลงนามในข้อตกลงการรักษาความลับ

2.2 วัตถุประสงค์ของหนังสือสัญญารักษาความลับขณะเซ็นลงนามสัญญา NDA

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายควรที่จะพูดคุยและตกลงให้แน่นอนเกี่ยวกับจุดประสงค์และขอบเขตของการเก็บข้อมูลความลับ ยกตัวอย่างเช่น จำกัดเฉพาะในส่วนเนื้อหาที่พัฒนาร่วมกันที่ไม่มีความจำเป็นต้องเก็บความลับ หรือ สามารถบอก outsource ได้ในส่วนไหน เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายบรรลุฉันทามติเกี่ยวกับการรักษาความลับ

2.3 ความหมายและขอบเขตของข้อมูลที่นับว่าเป็นความลับ

ในข้อตกลงการรักษาความลับ จะต้องระบุ “ข้อมูลที่เป็นความลับ” ไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่ทำเครื่องหมายว่า “เป็นความลับ” “ถูกจำกัด” ฯลฯ ให้ถือเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ หากเป็นข้อมูลที่เป็นความลับที่ส่งผ่านวาจา ก็จะต้องเป็นความลับด้วย ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือให้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและทำเครื่องหมายว่า “เป็นความลับ” หรือ “ถูกจำกัด”

2.4 กฎมาตรการปฎิบัติเพื่อการปฏิบัติตามพันธกรณีข้อสัญญาในช่วงระยะเวลาของการปฏิบัติ

ตามพันธกรณีการรักษาความลับ ควรมีมาตรการตอบโต้เชิงปฏิบัติ เช่น ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นความลับรั่วไหลไปยังบุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อมูลที่เป็นความลับควรถูกส่งคืนหรือทำลายหลังจากความร่วมมือสิ้นสุดลง ไม่มีการสำรองข้อมูล การคัดลอก หรือมีการอนุญาตให้พิมพ์หรือเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความลับ ฯลฯ

2.5 การยกเว้นหน้าที่ในการรักษาความลับ

เมื่อสถานการณ์บางอย่างเกิดขึ้น หมายความว่าข้อมูลนั้นไม่มีความจำเป็นหรือคุณค่าในการเก็บรักษาความลับอีกต่อไป และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามภาระหน้าที่ในการรักษาความลับต่อไป ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่ฝ่ายเปิดเผยได้เปิดเผยตามความคิดริเริ่มของตนเอง หรือข้อมูลที่มีการเปิดเผยภายใต้คำสั่งทางกฎหมายของศาลและหน่วยงานของรัฐอื่นๆ จะไม่อยู่ภายใต้ภาระผูกพันในการรักษาความลับ

2.6 วัตถุประสงค์ที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงในการรักษาความลับ

ต้องกำหนดอย่างชัดเจนถึงผู้ที่จำเป็นต้องรับผิดชอบภาระหน้าที่ในการรักษาความลับ เช่น พนักงานของผู้ผลิตที่จ้างจากภายนอก ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง หุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องของผู้ผลิตที่จ้างจากภายนอก เป็นต้น

2.7 ชดใช้ค่าเสียหายจากการฝ่าฝืนข้อตกลงในการรักษาความลับ

เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่าฝืนข้อตกลงของสัญญาการรักษาความลับและทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับรั่วไหล ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้อีกฝ่ายชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาการรักษาความลับ เช่น การสูญเสียโอกาสทางธุรกิจอันเนื่องมาจากการเปิดเผยความลับทางธุรกิจ การสูญเสียค่าความนิยม ฯลฯ นอกเหนือจากค่าเสียหายแล้วสัญญา NDA ยังสามารถใช้เพื่อกำหนดว่าฝ่ายที่ละเมิดสัญญาควรจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษจำนวนหนึ่ง

7เนื้อหาสำคัญที่ควรระบุในหนังสือสัญญาNDA

3.ในทางกฎหมายสัญญารักษาความลับมีประสิทธิผลนานขนาดไหน

ในปัจจุบัน ไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับเรื่องระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้ของข้อตกลงในสัญญารักษาความลับ โดยทั่วไป ระยะเวลาที่มีผลในทางกฎหมายของสัญญา NDA นั้นคือระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายทำการเจรจาตกลงกันในข้อตกลง โดยในสัญญารักษาความลับจะต้องระบุถึงคำจำกัดความของข้อมูลที่เป็นความลับและระยะเวลาของภาระหน้าที่ในการรักษาความลับ ซึ่งหมายความว่าในช่วงระยะเวลาการรักษาความลับของสัญญา NDA ภาระหน้าที่ในการรักษาความลับจะไม่ถูกละเมิด และข้อมูลที่เป็นความลับจะไม่รั่วไหลไปยังบุคคลที่สาม

อย่างไรก็ดีภาระและหน้าที่ในการรักษาความลับไม่จำเป็นต้องจำกัดขอบเขต ขึ้นอยู่เพียงระยะเวลาของความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ คู่สัญญายังสามารถตกลงกันได้ว่าภาระผูกพันในการรักษาความลับจะยังคงมีอยู่ภายในระยะเวลาหนึ่งหลังจากที่สัญญาระงับหรือสิ้นสุดลง ตัวอย่างเช่น สัญญาจ้างงานที่ลงนามโดยพนักงานใหม่ เมื่อพวกเขาเข้าร่วมบริษัทมักจะมีข้อกำหนดการรักษาความลับ ซึ่งกำหนดว่าข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทจะต้องไม่ถูกเปิดเผยในระหว่างการทำงานและภายในระยะเวลาหนึ่งหลังจากการลาออก หากละเมิดเงื่อนไขในการรักษาความลับ ของสัญญา NDA ข้างต้น คุณอาจถูกฟ้องร้องจากการรั่วไหลของความลับทางการทำธุรกิจ ดังนั้นจึงแนะนำให้ทุกคนตกลงยืนยันกันในเรื่องระยะเวลาของการรักษาความลับของสัญญา NDA  เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสัญญาการรักษาความลับ ควรระวังไว้ว่าระยะเวลาของภาระหน้าที่ในการรักษาความลับไม่ควรนานเกินไป เช่น มากกว่า 10 ปีหรือตลอดไป เพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทในอนาคต ซึ่งศาลเห็นว่าสัญญาการรักษาความลับนั้นไม่ยุติธรรม ศาลก็อาจปรับลดภาระผูกพันในการรักษาความลับให้สั้นลงได้ตามสมควร

4.สามารถไปดาวน์โหลดเทมเพลตหนังสือสัญญารักษาความลับ NDAได้ที่ไหน

Lawnote DocPie ทำสัญญาNDAหนังสือสัญญารักษาความลับอัตโนมัติขึ้นมาใหม่เพื่อคุณ ถึงแม้ว่าบนโลกอินเตอร์เน็ตจะมีแทมแพลตของหนังสือสัญญารักษาความลับเต็มไปหมด แต่โดยทั่วไปแล้วแต่ละบริษัทก็มีความต้องการที่ไม่ตรงกันในเรื่องของเนื้อหา ระยะเวลา วัตถุประสงค์ บุคลากร ดังนั้นที่พบเจอบนอินเตอร์เน็ต เช่น ตัวอย่าง สัญญาไม่เปิดเผยข้อมูล สัญญารักษาความลับ สำหรับพนักงาน สัญญารักษาความลับบริษัท ก็อาจจะไม่เหมาะกับความต้องการ นอกเหนือจากการทำธุรกิจร่วมกัน HR ของบริษัทที่ตนเองต้องเก็บความลับของพนักงานก็อาจต้องใช้หนังสือสัญญารักษาความลับด้วยเช่นกัน เช่น หนังสือการลาออกเป็นต้น และการค้นหาเทมแพลตสัญญารักษาความลับ สำหรับพนักงาน บนอินเตอร์เน็ต ก็อาจจะไม่เข้ากับข้อมูลส่วนบุคคลและความต้องการ หากมีความยากลำบากในการเขียนหนังสือสัญญารักษาความลับ NDA แล้วละก็ แนะนำให้คุณใช้บริการของ Lawsnote DocPie ทำสัญญา NDA หนังสือสัญญารักษาความลับอัตโนมัติขึ้นมาใหม่เพื่อคุณ สามารถติดต่อบริการกับทนายความของเราผ่านไลน์ออฟฟิเชียลเพื่อการทำหนังสือสัญญารักษาความลับที่เหมาะกับความต้องการของคุณ