หน้าหลัก|ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย » จากมือใหม่สู่มือโปร: นำสัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้เพื่อปกป้องสิทธิ์ของคุณไม่ว่าจะในฐานะผู้ซื้อหรือผู้ขาย

จากมือใหม่สู่มือโปร: นำสัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้เพื่อปกป้องสิทธิ์ของคุณไม่ว่าจะในฐานะผู้ซื้อหรือผู้ขาย

จากมือใหม่สู่มือโปร: นำสัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้เพื่อปกป้องสิทธิ์ของคุณไม่ว่าจะในฐานะผู้ซื้อหรือผู้ขา

โดยก่อนจะเซ็นสัญญาหรือทำการตกลงการซื้อขายที่ดินหรือสัญญาซื้อขายใด  ๆ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาการซื้อขายบ้าน หรือ สัญญาการซื้อขายคอนโดก็ตาม เราควรอ่านเนื้อหาของสัญญาให้ถี่ถ้วน และดูองค์ประกอบของสัญญาให้ครบถ้วนเสียก่อน รวมทั้งควรมั่นใจด้วยว่าคู่สัญญาของเราคือใคร หากคุณตกลงจะทำสัญญาซื้อขายบ้านหรือที่ดินนั้น สำหรับผู้ซื้อหรือผู้ขายเพื่อให้มั่นใจว่าสัญญาซื้อขายนั้นมีประสิทธิภาพและไม่ละเมิดกฎหมาย หากคุณกำลังค้นหาเทมเพลตสัญญาซื้อขายที่ดินหรือบ้านทางออนไลน์แต่ยังไม่รู้วิธีการเขียนร่างสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้าน ง่ายและสบายมาก! บทความนี้จะแนะนำให้คุณเข้าใจในสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านรวมทั้งสอนวิธีการร่างสัญญาซื้อขายฉบับสมบูรณ์ให้แก่คุณ!

Table of Contents

1. สัญญาซื้อขาย มีกี่ประเภท สัญญาซื้อขายเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ คืออะไร

สัญญา คือ การที่บุคคลสองฝ่ายเห็นต้องตรงกันในวัตถุประสงค์ของการทำสัญญา และเพื่อลดข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง ดังนั้นสัญญาซื้อขาย คือ การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกำหนดสิทธิและหน้าที่ในการทำการซื้อขาย โอนกรรมสิทธิ์ แลกเปลี่ยนสินค้ากัน โดยให้มีผลในวันที่ทำสัญญา กล่าวคือ “ผู้ซื้อ” มีหน้าที่ชำระเงินหรือกระทำตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งได้กำหนดไว้ และ “ผู้ขาย” มีหน้าที่นำวัตถุของกลางตามที่ได้ตกลงไว้แลกเปลี่ยนกับผู้ซื้อ

สัญญาซื้อขายนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

  1. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือสัญญาซื้อขายสำเร็จสมบูรณ์ 
  2. สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข 
  3. สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลา 
  4. สัญญาจะซื้อจะขาย
  5. คำมั่นว่าจะซื้อจะขาย
สัญญาซื้อขายสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท

2.สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างคืออะไร

โดยปกติแล้วหากเรามีความสนใจในการจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ อาจจะติดปัญาในด้านของการเงิน กล่าวคือ ไม่สามารถที่จะจ่ายเงิน ณ ขณะ ที่ทำสัญญาได้ แต่มีความต้องการที่จะซื้อเลยตอนนั้น  ดังนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ ๔๕๖ ระบุไว้ว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ” ดังนั้นแล้วสัญญาจะซื้อจะขายมีความสำคัญในเรื่องของการคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อเป็นข้อสัญญาว่าในอนาคตจะมีการซื้อขายสิ่งนี้จริง วิธีการ ขั้นตอนในการชำระเงินส่วนที่เหลือ หรือข้อผูกมัดอื่นตามที่ได้ตกลงแสดงเจตนาไว้ ตกลงผูกพันไว้ก่อน แต่สุดท้ายแล้วในอนาคตยังคงต้องทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานกรมที่ดิน

ดังนั้นแล้ว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน คือ ผู้ซื้อและผู้ขายทำการแสดงเจตนาเป็นบ่อเกิดของสัญญาซื้อขายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กำหนดชัดเจนเหมือนในเนื้อหาของสัญญาซื้อขาย ด้วยเหตุนี้เนื้อหา 5 ข้อที่ควรระบุและรู้ในสัญญาซื้อขายมีดังนี้

・ทรัพย์ที่เราจะขาย คืออะไร ที่ไหน รายละเอียด มีอะไรบ้าง

เหมือนที่ได้กล่าวไปตอนข้างต้นว่า สัญญาจะซื้อจะขายเหมือนเป็นการแสดงเจตนาความต้องการของคู่สัญญาสัญญาจะซื้อจะขายจะต้องกำหนดทรัพย์สินเหมือนในสัญญาซื้อขายที่ดิน ฉบับเต็มที่จะไปจดทะเบียนต่อไป

・คู่สัญญาของเราคือใคร

การรู้ชัดว่าคู่สัญญาของเราคือใครนั้นมีความสำคัญมากในการทำสัญญาซื้อขายหรือสัญญาจะซื้อจะขายหากคู่สัญญาของเราเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หลักเกณฑ์ที่ต้องระบุลงในสัญญาจะซื้อจะขายนั้นจะแตกต่างกัน เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องทราบว่าคู่สัญญาของเรามีสถานะอะไรในทางกฎหมาย

หากคู่สัญญาเป็นบุคคลธรรมดา ต้องระวังในเรื่องของการที่บุคคลผู้ไร้ความสามารถ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(12) ได้แบ่งประเภทบุคคลผู้ไร้ความสามารถออกเป็น 2 ประเภท คือ 

  1. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มีความสามารถตามกฎหมาย เช่น เด็กไร้เดียงสา คนไร้ความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด บุคคลที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และบุคคลที่ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย 
  2. บุคคลใด ๆ ซึ่งความสามารถถูกจํากัดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น ผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น

เนื่องจากหากทำสัญญากับบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้นั้น จะส่งผลให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ ท้ายนี้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องแบเอกสารของตนลงไปในสัญญาจะซื้อจะขายด้วย

・วิธีการชำระเงิน

ควรระบุให้แน่ชัดในเรื่องของช่องทางในการชำระเงิน และ ค่าใช้จ่ายอื่น เพิ่มเติมในการดำเนินเอกสารในอนาคต

・ระบุเนื้อหาเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์

・ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน

เนื้อหาที่ควรระบุในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน

สัญญาซื้อขายบ้าน จำเป็นต้องมีเนื้อหา ส่วนประกอบ อะไรบ้าง

หากมั่นใจแล้วว่าจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ชิ้นนั้น และต้องการทำสัญญาซื้อขายบ้านเลยโดยทันที ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำสัญญาซื้อขายบ้าน แต่ก่อนที่จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินกับผู้ขาย ผู้ซื้อควรระมัดระวังในเรื่องของ ต้วบ้าน สินเชื่อ กรรมสิทธิ์ในตัวบ้าน ดังนั้นแล้วสัญญาซื้อขายบ้านควรมีเนื้อหาดังนี้ 

  1. รายละเอียดเกี่ยวกับตัวบ้าน รวมถึงที่ดิน
  2. วิธีการและวันโอนกรรมสิทธิ์
  3. ราคา เงื่อนไขและช่องทางการชำระเงิน รวมถึงค่าธรรมเนียม ค่ามัดจำ
  4. เอกสารแนบท้ายเอกสารที่สำคัญ เช่น ทะเบียนบ้าน เลขบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
  5. การรับผิดชอบและเบี้ยปรับหากผิดสัญญา

3.จะทราบได้ไงว่าสัญญาซื้อขายที่ดินหรือบ้านมีผลทางกฎหมาย

สัญญาซื้อขาย หากทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องทำเป็นหนังสือและลงนามจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ถึงจะมีผลทางกฎหมายแต่ถ้าหากเป็นสังหาริมทรัพย์ สามารถทำเป็นหนังสือระหว่างบุคคลกันเองได้ แต่จะต้องทำการลงนามไว้สัญญาซื้อขายจะมีผลทันทีหลังจากการทำตามขั้นตอนของหนังสือสัญญาซื้อขาย

กล่าวคือ ถ้าหากทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นสัญญาซื้อขายที่มีแบบ ต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง หลัก 1.รูปแบบหนังสือสัญญาตามที่กฎหมายกำหนด 2.เจตนาเสนอสนองต้องตรงกัน 3.การจดทะเบียน

4.หากต้องการบอกเลิกยุติสัญญาซื้อขายต้องทำยังไงบ้าง

การบอกเลิกยุติสัญญาซื้อขายนั้นต้องเป็นไปตามข้อตกลงตามที่สัญญาไว้ตั้งแต่แรก และหากผู้ใดมีสิทธิ์ในการบอกเลิกสัญญาหรือข้อบัญญัติตามกฏหมายนั้นแล้ว ตามมาตรา 386  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ระบุไว้เพื่อแสดงเจตนาต่อคู่สัญญา สามารถทำการบอกเลิกยุติสัญญาซื้อขายได้ตามนี้

・ตรวจสอบข้อกำหนดในเนื้อหาสัญญา

ถ้าหากในสัญญาซื้อขายฉบับนั้นมีการระบุข้อบังคับหลักเกณฑ์และการชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากพฤติกรรมการบอกเลิกยุติสัญญานั้นก็ควรทำตามข้อตกลงที่ได้ไว้ให้กันตั้งแต่แรก

・การเจรจากับคู่สัญญา

ขอให้อีกฝ่ายตกลงในการยกเลิกสัญญา ซึ่งอาจจะต้องมีการต่อรองหรือตกลงในเรื่องของการคืนเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกโอนมอบไปก่อนหน้านั้น

・ลงทะเบียนและแจ้งเจ้าหน้าที่

หากมีการยกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับที่ดิน จะต้องมีการลงทะเบียนเอกสารยกเลิกที่สำนักงานที่ดินหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สิทธิ์ที่ได้รับจากการทำสัญญาเดิมถูกยกเลิกโดยสมบูรณ์

5.ไม่รู้จะเริ่มทำสัญญาซื้อขายที่ดินหรือบ้านยังไงใช่ไหม Lawsnote DocPie มีบริการทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินหรือบ้านขึ้นใหม่เพื่อคุณ

ค้นหาคำในกูเกิลจนเหนื่อยท้อใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็น  “หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน” “ตัวอย่างหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย” หรือ “หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแต่ก็ยังหาสัญญาซื้อขายที่ดินหรือบ้าที่เข้ากับความต้องการและเหมาะสมกับสถานะการณ์ของตัวเองไม่เจอหรืออาจจะไม่แน่ใจว่าต้องจัดทำเทตเพลตสัญญายังไงใช่ไหม อย่าได้กังวลไป สัญญาซื้อขายที่ดินหรือบ้านที่ครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะสมกับความต้องการ ให้เป็นเรื่องของทีม Lawsnote DocPie ในการบริการทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินหรือบ้านให้คุณ

Lawsnote DocPie ทีมทนายความที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำและปรึกษาด้านกฎหมาย ช่วยเหลือในการเจรจาว่าความระหว่างคู่สัญญาและเขียนสัญญาข้อตกลงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทางกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่จะตามมา


คลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อทีมทนายความที่มีความเชี่ยวชาญของเราเพื่อบริการคุณ