ก่อนจะเริ่มเซ็นสัญญาการทำธุรกิจร่วมกันกับบริษัทต่างประเทศ หลายคนอาจจะยังสับสนในความเหมือนและแตกต่างระหว่างสัญญาผู้จัดจำหน่ายและสัญญาตัวแทนจำหน่าย จนอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ หรือข้อพิพาษที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและรักษาสิทธิของทั้งสองฝ่าย ดังนั้นมาทำความเข้าใจรูปแบบการทำสัญญาผู้จัดจำหน่ายและสัญญาตัวแทนจำหน่ายในบทความนี้กัน และถ้าหากไม่ทราบว่าจะหาเทมแพลตได้จากไหน ทาง Lawsnote Docpie มีบริการสัญญาอัตโนมัติ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณท้ายบทความ
Table of Contents
Toggle1. เปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างระหว่างสัญญาตัวแทนจำหน่ายและสัญญาเป็นผู้จัดจำหน่าย
ในการทำธุรกิจกับบริษัทต่างประเทศและต้องการนำสินค้าของบริษัทนั้น ๆ มาขายในอนาคต ในระหว่างการขายสินค้านั้นอาจมีข้อพิพาษเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มาขายนั้นจะมีผลเรื่องของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา การส่งมอบสินค้ารวมถึงคุณภาพสินค้าที่ทั้งสองบริษัทได้กำหนดไว้ ดังนั้นแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาษที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และรักษาสิทธิของทั้งสองฝ่ายจึงมีความจำเป็นในการทำสัญญาตัวแทนจำหน่ายหรือสัญญาเป็นผู้จัดจำหน่ายขึ้น
(1) ความคล้ายคลึงกันระหว่างตัวแทนและผู้จัดจำหน่าย
ไม่ว่าจะเป็นสัญญาตัวแทนหรือสัญญาผู้จัดจำหน่าย หรือบุคคลที่กระทำการดำเนินการธุรกิจผ่านการหาสินค้าของบริษัทอื่น (หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อซัพพลายเออร์) ก็ต่างมีบทบาทความสำคัญที่คล้ายคลึงกันนั้นก็คือ “การเป็นตัวกลาง” ในห่วงโซ่ของการทำธุรกิจชนิดนี้ ตัวแทนหรือผู้จัดจำหน่ายมีความสำคัญในการเชื่อมโยงให้ผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตเป็นที่รู้จักมากขึ้นในตลาด เป็นตัวแทนในการส่งมอบสินค้าให้กับผู้บริโภคอีกที เช่น การนำเข้ารถต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยผ่านบริษัทผู้จัดจำหน่ายถือสิทธิ์ในการขายรถยนต์ให้กับผู้ใช้งานในประเทศไทย โดยอาจจะเพิ่มยอดการขายโดยให้บริการหลังการขาย หรือบริการเสริมอื่น ๆ กล่าวคือตัวแทนหรือผู้จัดจำหน่ายมีหน้าที่ให้การเชื่อมโยงฝ่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อทำการค้าหรือการทำธุรกิจร่วมกันในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
(2) ความแตกต่างระหว่างตัวแทนและผู้จัดจำหน่าย
สัญญาจ้างแรงงานคืออะไร สัญญาจ้างแรงงานต้องมีการเซ็นสัญญาไหม มีเหตุการณ์อะไรบ้างที่สัญญาจ้างแรงงานอาจจะฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน สัญญาแรงงานจะสิ้นสุดตอนไหน บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทราบในการทำหนังสือสัญญาจ้างแรงงาน รวมถึงข้อควรระวังในการทำสัญญาจ้างแรงงาน โดยเรามีมีเทมเพลตสัญญาจ้างแรงงานและช่องทางการดาวน์โหลดเพื่อให้คุณนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย!
แม้ว่าตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายจะมีหน้าที่ในการเป็นตัวกลางของซัพพลายเออร์ในการขายสินค้าให้กับผู้บริโภคเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างทั้งสองสัญญานี้:
1.กรรมสิทธิ์และการรับผิดชอบ
ตัวแทนมักจะไม่ซื้อสินค้าและเป็นเจ้าของสินค้าด้วยตนเอง แต่จะเป็นเพียงตัวแทนของซัพพลายเออร์และขายผลิตภัณฑ์ในนามของซัพพลายเออร์ ในขณะที่ตัวแทนจำหน่ายจะซื้อและเป็นเจ้าของสินค้าโดยตรง และจะขายสินค้าในนามของตัวแทนจำหน่ายเอง โดยตัวแทนมักจะมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อการกระทำของบุคคลอื่นภายใต้การแทนที่ แต่ผู้จัดจำหน่ายนั้นมีบทบาทในการจัดหาสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตหรือผู้ขายต้นทางและขายให้กับลูกค้า โดยที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้ผลิตหรือผู้ขายต้นทาง
2. ระดับความเสี่ยงทางธุรกิจ
เนื่องจากตัวแทนไม่ได้ซื้อสินค้าโดยตรง เพียงแต่เป็นตัวแทนในการจำหน่าย และมักจะไม่ได้เก็บสต็อกสินค้าในจำนวนมาก จึงไม่มีแรงกดดันด้านคลังและปริมาณการขาย ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า ในทางกลับกัน ผู้จัดจำหน่ายจะซื้อและถือครองสินค้า จึงมีแรงกดดันด้านการจำหน่ายสินค้า ดังนั้นผู้จัดจำหน่ายจึงต้องเผชิญ ความเสี่ยงทางธุรกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในด้านของภาระการรับผิดชอบนั้น ผู้จัดจำหน่ายมักจะไม่มีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้ผลิตหรือผู้ขายต้นทาง แต่อาจมีความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่จัดจำหน่าย
3. วิธีการเก็บกำไร
เนื่องจากตัวแทนขายสินค้าในนามของซัพพลายเออร์เท่านั้น ราคาขายจึงถูกกำหนดโดยซัพพลายเออร์ และตัวแทนไม่สามารถกำหนดราคาขายได้อย่างอิสระ วิธีหลักในการทำกำไรคือการดึงค่าคอมมิชชั่นจากซัพพลายเออร์ แต่ผู้จัดจำหน่ายนั้นได้ซื้อสิทธิ์ผูกขาดในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาจากผู้ผลิตโดยตรงแล้ว ดังนั้นถือได้ว่าผู้จัดจำหน่ายก็เป็นหนึ่งในเจ้าของตัวผลิตภัณฑ์นั้น ดังนี้จึงสามารถตัดสินใจจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในราคาที่สูงกว่าได้อย่างอิสระและรับส่วนต่างของราคาเป็นกำไร
2. ความเสี่ยงของการเป็นตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายที่ต้องประสบพบเจอ - ความสำคัญของสัญญาผู้จัดจำหน่ายและสัญญาตัวแทน
(1) ความเสี่ยงด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์
หากผลิตภัณฑ์ที่จัดหาโดยผู้ผลิตสินค้ามีคุณภาพต่ำหรือมีข้อบกพร่องและก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ตัวแทนหรือผู้จัดจำหน่ายอาจต้องรับผิดร่วมกัน หากทั้งสองฝ่ายตกลงล่วงหน้าผ่านสัญญาตัวแทนหรือสัญญาเป็นผู้จัดจำหน่ายซึ่งจะรับผิดทางกฎหมายที่เกิดจากข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์นั้นแล้วก็สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางกฎหมายที่ไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นได้ เช่น การทำข้อกำหนดว่าหากได้รับสินค้าภายใน 5 วัน และผ่านการตรวจสอบตามมาตฐานของบริษัทผู้รับสินค้าและไม่ผ่านเกณฑ์ที่วางไว้ หากแจ้งให้ผู้ผลิตทราบแล้วก็จะสามารถคืนสินค้าล็อตนั้นได้ โดยซัพพลายเออร์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเป็นต้น
(2) ความเสี่ยงด้านราคาและการแข่งขันทางการตลาด
หากฝ่ายผู้ผลิตร่วมมือกับตัวแทนหรือผู้จัดจำหน่ายหลายรายในพื้นที่การขายเดียวพร้อม ๆ กัน ก็อาจจะทำให้ตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายแข่งขันกันในการทำการตลาดหรือผู้จัดจำหน่ายอาจจะลดราคาและแข่งขันกันเองซึ่งจะส่งผลต่อยอดการขาย ผลกำไร อย่างไรก็ตาม หากพื้นที่ขายถูกจำกัดผ่านสัญญาตัวแทนหรือสัญญาผู้จัดจำหน่าย หรือมีการตกลงร่วมกันกับทางฝ่ายผู้ผลิตเกี่ยวกับเงื่อนไขการจัดจำหน่าย เพียงแค่นี้ความเสี่ยงด้านการแข่งขันจะลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ความเสี่ยงด้านการโฆษณาและภาพลักษณ์ของตลาด
หากตัวแทนหรือผู้จัดจำหน่ายทำการโฆษณาการตลาดที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ฝ่ายผู้ผลิตหรือบริษัทแม่ได้ แต่อย่างไรก็แล้วหากทำสัญญาตัวแทนหรือสัญญาผู้จัดจำหน่ายนั้นตัวซัพพลายเออร์สามารถกำหนดให้ตัวแทนหรือผู้จัดจำหน่ายปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เฉพาะของแบรนด์เพื่อให้แน่ใจว่าภาพลักษณ์และค่าความนิยมของแบรนด์จะไม่ได้รับความเสียหาย
(4) ความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
ด้วยการเปิดระบบตัวแทนหรือจัดตั้งให้บริษัทอื่น ๆ มีอำนาจในการจัดจำหน่ายสินค้าแล้วนั้น แน่นอนว่าจะทำให้ตัวผลิตภัณฑ์จะเป็นที่รู้จักมากขึ้นและยอดขายก็จะเพิ่มขึ้นตามกันไปเป็นระดับ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงมากมายที่ซ่อนอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนและผู้จัดจำหน่าย ในเวลานี้ หากมีการลงนามในสัญญาตัวแทนหรือสัญญาแต่งตั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายที่สมบูรณ์และมีผลผูกพันทางกฎหมายแล้ว ระบุเนื้อหาที่สำคัญลงไปในตัวสัญญา แค่นี้ตัวคุณเองก็สามารถลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
3. สิ่งที่นักธุรกิจมือใหญ่ควรรู้ : เนื้อหาที่ควรระบุในสัญญาตัวแทนและสัญญาผู้จัดจำหน่าย
ไม่ว่าวันนี้คุณจะเป็นฝ่ายผู้ผลิต บริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้าหรือบริษัทผู้จัดจำหน่ายก็ต่างที่อาจจะต้องแบกรับความเสี่ยงดังนี้ โดยเฉพาะถ้าหากบริษัทที่คุณร่วมลงทุนด้วยนั้นมีที่ตั้งอยู่ต่างประเทศกัน ดังนั้นแล้วควรระบุเนื้อหาดังต่อไปนี้เพื่อถ้าหากอนาคตเกิดเหตุพิพาษขึ้นจะได้สามารถปกป้องสิทธิ์ของทั้งสองฝ่าย
(1) จำกัดเวลาและภูมิภาค
อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นหากบริษัทคู่ค้าทั้งสองฝ่ายนั้นไม่ได้อยู่ในภูมิภาคเดียวกันก็อาจจะติดขัดในด้านของเวลาหรือข้อจำกัดด้านภูมิภาคได้ ดังนั้นแล้วควรระบุให้แน่ชัดเกี่ยวกับเรื่องนี้และเป็นเนื้อหาที่ขาดไม่ได้ในสัญญาตัวแทนและสัญญาผู้จัดจำหน่าย เช่น: หากมีข้อพิพาษเกิดขึ้นจะอิงตามเวลาที่ของประเทศใด และสถานที่กฎหมายของประเทศอะไร
(2) สิทธิ์การเป็นตัวแทนหรือสิทธิ์การจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว
ตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายสามารถลงนามในสัญญาตัวแทนหรือสัญญาผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในสัญญา เพื่อให้แน่ใจว่าตัวคุณเองนั้นเป็นหุ้นส่วนเพียงรายเดียวของผู้ผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาผลกำไรจากการขาย ซัพพลายเออร์ยังสามารถใช้ตัวแทนหรือเงื่อนไขการจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวเป็นสิ่งจูงใจเพื่อดึงดูดตัวแทนหรือผู้จัดจำหน่ายที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงให้ร่วมมือกับพวกเขาและเพิ่มยอดขายอย่างมีนัยสำคัญ
(3) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
บริษัทผู้ผลิตสามารถระบุข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในสัญญาตัวแทนหรือสัญญาผู้จัดจำหน่าย และยังสามารถกำหนดอย่างชัดเจนว่าตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายจะมีสิทธิ์และขอบเขตในทรัพย์สินทางปัญญาได้เท่าไรอย่างไร ตัวอย่างเช่น เครื่องหมายการค้าสามารถใช้ได้เฉพาะกับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์เท่านั้น และไม่สามารถใช้สำหรับการผลิตด้วยตนเองได้ โฆษณาการตลาดโดยตัวแทนจำหน่ายรอ
(4) การสิ้นสุดสิทธิ์การเป็นผู้จัดจำหน่ายและการเป็นตัวแทนจำหน่าย
เงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญาสามารถกำหนดไว้ในสัญญาตัวแทนและสัญญาการจัดจำหน่าย เช่น การผิดสัญญา การไม่บรรลุเป้าหมายการขาย การจัดการที่ไม่ดี หรือสินค้าไม่เป็นไปตามคุณภาพที่กำหนด เป็นต้น และสามารถกำหนดผลกระทบเพิ่มเติมได้ภายหลังการยุติความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนหรืการยุติอการกระจายสินค้า เช่น การคืนสินค้าคงคลัง ชำระสินค้าที่ค้างชำระ เป็นต้น
(5) วิธีการระงับข้อพิพาท
สัญญาตัวแทนและสัญญาเป็นผู้จัดจำหน่ายจะต้องกำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทอย่างชัดเจนเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างทั้งสองฝ่าย เช่น จำเป็นต้องผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการหรือไม่ ศาลที่ทั้งสองฝ่ายกำหนดให้มีเขตอำนาจศาลคือประเทศใด เป็นต้น เพื่อช่วยทั้งสองฝ่ายในการแก้ไขข้อพิพาทดังนี้ โดยเร็วที่สุด
4. ไม่รู้จะเริ่มทำสัญญาผู้จัดจำหน่ายและสัญญาตัวแทนยังไงใช่ไหม Lawsnote DocPie มีบริการทำหนังสือสัญญาผู้จัดจำหน่ายและสัญญาตัวแทนทำของใหม่เพื่อคุณ
ค้นหาคำในกูเกิลจนท้อแล้วใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็น “เทมแพลตสัญญาผู้จัดจำหน่าย” “สัญญาตัวแทน” “ตัวแทนจำหน่าย ไม่สต๊อกสินค้า”หรือ “หนังสือสัญญานายหน้า word”แต่ก็ยังหาสัญญาผู้จัดจำหน่ายและสัญญาตัวแทนที่เข้ากับความต้องการและเหมาะสมกับสถานะการณ์ของตัวเองไม่เจอหรืออาจจะไม่แน่ใจว่าต้องทำเทตเพลตในสัญญายังไงใช่ไหม อย่าได้กังวลไป สัญญาผู้จัดจำหน่ายและสัญญาตัวแทนที่ครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะสมกับความต้องการ ให้เป็นเรื่องของทีม Lawsnote DocPie ในการบริการทำหนังสือสัญญาผู้จัดจำหน่ายและสัญญาตัวแทนให้คุณ
Lawsnote DocPie ทีมทนายความที่มีสามารถและเชี่ยวชาญในการแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านกฎหมาย ช่วยเหลือในการเจรจาว่าความระหว่างคู่สัญญาและเขียนสัญญาข้อตกลงอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพทางกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่ตามมา
คลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อทีมทนายความของเราที่ความเชี่ยวชาญเพื่อบริการคุณ