หน้าหลัก|ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย » สัญญากู้ยืมเงินแบบผ่อนชำระ: จุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนเซ็น

สัญญากู้ยืมเงินแบบผ่อนชำระ: จุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนเซ็น

การทำสัญญากู้ยืมเงินแบบผ่อนชำระ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล หรือเงินกู้ระยะสั้น เป็นทางออกที่หลายคนเลือกใช้เมื่อต้องการเงินสดหมุนเวียน โดยสามารถผ่อนชำระคืนเป็นรายเดือนตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในสัญญา อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญาเงินกู้ประเภทนี้ มีจุดสำคัญที่ควรทำความเข้าใจและตรวจสอบให้ดีเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง โดยเฉพาะในเรื่องของดอกเบี้ยเงินกู้และค่าใช้จ่ายอื่น ที่อาจมีการคิดเพิ่มเติม มาดูกันว่าจุดสำคัญที่ต้องพิจารณาในสัญญากู้ยืมเงินแบบผ่อนชำระมีอะไรบ้าง และมีวิธีป้องกันปัญหาไม่ให้ตกเป็นหนี้เกินตัวได้อย่างไร

สัญญากู้ยืมเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขการกู้ยืมและข้อตกลงต่าง อย่างละเอียดก่อนลงนาม เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งสัญญากู้ยืมแบ่งออกเป็นประเภทต่าง และมีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องระบุให้ชัดเจน ดังนี้

1.1 ประเภทของสัญญายืม

สัญญายืมนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

  1. สัญญายืมใช้คงรูป เป็นสัญญาที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินและต้องคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใช้เสร็จ เช่น การยืมรถยนต์ไปใช้งาน เป็นต้น
  2. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง เป็นสัญญาที่ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงจะคืนทรัพย์สินประเภท ชนิด ปริมาณเดียวกัน
    โดยสัญญากู้ยืมเงินจัดอยู่ในประเภทนี้

1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ต้องมีในสัญญากู้ยืมเงิน

เพื่อให้สัญญากู้ยืมมีความสมบูรณ์ตามกฎหมาย ต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดที่จำเป็น ได้แก่

  • วันที่ทำสัญญา เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันวันเริ่มต้นของสัญญา
  • ชื่อและข้อมูลของผู้กู้และผู้ให้กู้ เพื่อระบุตัวตนคู่สัญญา
  • จำนวนเงินที่กู้ยืม
  • ระบุว่าผู้กู้นั้นได้รับเงินที่กู้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • กำหนดการชำระคืนเงินต้น ระบุวันครบกำหนดชำระหรือจำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ
  • อัตราดอกเบี้ยต่อเดือนหรือต่อปี(ถ้ามี) พร้อมวิธีการคำนวณที่ชัดเจน
  • ลายมือชื่อผู้กู้และผู้ให้กู้(ถ้ามี) เพื่อยืนยันการตกลงทำสัญญา
  • ข้อมูลอื่น เช่น สถานที่ทำสัญญา ผลของการผิดสัญญา พยาน เป็นต้น เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งที่อาจเกิดขึ้น

การศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการกู้ยืม องค์ประกอบของสัญญา และอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญากู้ยืม จะช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาทางกฎหมายและข้อพิพาทต่าง ในอนาคตได้

2. เงื่อนไขสำคัญในสัญญากู้ยืมเงินแบบผ่อนชำระ

ก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญากู้ยืมเงินกับแบงก์สินเชื่อหรือสถาบันการเงินใด ผู้กู้ควรศึกษาเงื่อนไขสำคัญในสัญญาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อให้เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองอย่างถ่องแท้ รวมถึงป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง

2.1 ยอดเงินต้นและอัตราดอกเบี้ย

ผู้กู้ต้องตรวจสอบยอดเงินต้นที่ระบุในสัญญาว่าถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีหรือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หากเจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่านี้จะตกเป็นโมฆะ ยกเว้นกรณีที่เป็นสถาบันการเงินที่กฎหมายให้อำนาจเรียกเกินได้

2.2 ยอดผ่อนต่อเดือนและระยะเวลาชำระหนี้

ผู้กู้ควรตรวจสอบยอดผ่อนชำระรายเดือนที่ระบุในสัญญาเงินกู้ว่าตรงตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ และมั่นใจว่าสามารถผ่อนชำระได้ตามกำหนดจริง นอกจากนั้น ข้อมูลระยะเวลาชำระหนี้ทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกับยอดผ่อนชำระต่อเดือนที่ระบุในสัญญาด้วย

2.3 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการผิดชำระหนี้

หากผู้กู้ไม่ชำระหนี้ตามที่ระบุไว้ในสัญญา จะถือว่าอยู่ในสถานะผู้ผิดนัดทันที ดังนั้น ก่อนเซ็นสัญญา ผู้กู้ควรอ่านทำความเข้าใจเงื่อนไขการผิดนัดชำระหนี้ให้ชัดเจน รวมถึงบทลงโทษและค่าปรับที่จะเกิดขึ้นด้วย เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม

3. ข้อควรระวังและวิธีป้องกันปัญหาจากสัญญากู้ยืม

เมื่อต้องทำสัญญากู้ยืมเงิน ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ควรระมัดระวังในหลายประเด็น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญที่สุดคือ ห้ามลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าหรือสัญญาที่มีการเว้นช่องว่างผิดปกติโดยเด็ดขาด เพราะอาจเปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้เติมข้อความอื่นเพิ่มเติมภายหลังได้ นอกจากนี้ ไม่ควรนำหลักประกันใด เช่น โฉนดที่ดิน ไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้ เนื่องจากอาจทำให้เสียสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นได้

ในการจัดทำสัญญากู้ยืม ควรเตรียมสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยลูกหนี้ถือไว้ 1 ฉบับ เพื่อเป็นหลักฐานสำคัญ และควรมีพยานฝ่ายลูกหนี้ลงลายมือชื่ออย่างน้อย1 คน เมื่อมีการผ่อนชำระหนี้ในแต่ละงวด ต้องขอใบเสร็จหรือหลักฐานการรับเงินซึ่งมีลายเซ็นของเจ้าหนี้กำกับไว้ทุกครั้ง และเมื่อชำระหนี้ครบถ้วนทั้งหมดแล้ว อย่าลืมขอต้นฉบับสัญญากู้คืนจากผู้ให้กู้ด้วย

หากเกิดข้อพิพาทขึ้นและฝ่ายเจ้าหนี้ต้องการฟ้องร้องทางกฎหมาย ต้องทำภายในอายุความ 10 ปี นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ ดังนั้น การปฏิบัติตามข้อควรระวังต่าง รวมถึงการเก็บเอกสารสำคัญให้ครบถ้วน จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ทั้งยังช่วยคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของลูกหนี้เองในฐานะผู้บริโภคอีกด้วย โดยเฉพาะหากมีการใช้ ผู้ค้ำประกัน ก็จำเป็นต้องแจ้งผู้ค้ำประกันทราบเงื่อนไขของสัญญากู้ยืมทุกประการ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับผู้ค้ำประกันตามมา