หน้าหลัก|ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย » ข้อควรระวังในการทำสัญญากู้ยืม ลักษณะและสัญญากู้ยืมมีกี่ประเภท

ข้อควรระวังในการทำสัญญากู้ยืม ลักษณะและสัญญากู้ยืมมีกี่ประเภท

ข้อควรระวังในการทำสัญญากู้ยืม ลักษณะและสัญญากู้ยืมมีกี่ประเภท

ปัจจุบันเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงการยืมในรูปแบบลักษณะต่างๆ จากบุคคลรอบตัวเรา อย่างน้อยอาจเคยถูกยืมเงินหรือยืมของใช้ โดยการยืมนั้นตามกฎหมายได้มีกฎหมายออกมารองรับ ดังนั้นเราจำเป็นต้องทราบว่าการยืมแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท มีลักษณะ กฎเกณฑ์อะไรบ้าง หน้าที่ความรับผิดของผู้ยืม ความระงับของสัญญายืม สัญญายืมที่พบบ่อย ในประเทศไทยคืออะไร บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจหลักของการยืมมากขึ้น

Table of Contents

1. ความหมายของคำว่ายืม

ยืม หมายความว่า ขอสิ่งของมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ให้ยืม” ส่งมอบทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ยืม” เพื่อให้ผู้ยืมใช้สอย และผู้ยืมจะคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ให้ยืมเมื่อใช้สอย
เสร็จแล้ว 

2. ลักษณะสำคัญของสัญญายืม มี 2 ประการ

  1. เป็นสัญญาที่ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน เพราะผูกพันผู้ยืมแต่ฝ่ายเดียวที่จะต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม โดยจะมีการตอบแทนกันไม่ได้เลย สาระสำคัญคือ การให้ยืมเปล่า หากมีการตอบแทนจะกลายเป็นสัญญาอย่างอื่นไป เช่น สัญญาเช่าทรัพย์
    เป็นต้น
  2. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม

3. ประเภทของสัญญายืม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

สัญญายืมใช้คงรูป หมายถึง สัญญาที่บุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีค่าตอบแทน และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640)

3.1 การให้ยืมใช้คงรูปจึงประกอบด้วย ลักษณะดังนี้ คือ

1) วัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สินได้เปล่า จะเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น สร้อยคอ ปากกา หรือจะเป็นอสังหาริมทรัพย์
เช่น ที่ดิน บ้าน ก็ได้เช่นกัน

2) เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน เพราะถือว่าในทางกฎหมายเรียกว่า เป็นการใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า

3) เป็นสัญญาที่ไม่โอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากผู้ยืมตกลงจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว โดยที่ผู้ยืมจะนำ
ทรัพย์สินอื่นมาคืนก็ไม่ได้ 

4) เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม กล่าวง่ายๆ คือ แม้ยืมกันแล้วแต่เมื่อยังไม่มีการส่งมอบ 
สัญญาก็ยังไม่บริบูรณ์ แต่กฎหมายไม่ได้กล่าวไว้ว่าเป็นโมฆะ เพียงแต่บังคับตามสิทธิ ตามสัญญาไม่ได้

3.2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูปหลักๆ ได้แก่

1) หน้าที่ดูแลรักษา ไม่เอาไปใช้ในการอย่างอื่นที่นอกจากการอันปกติแก่ทรัพย์สินนั้น เช่น ยืมรถยนต์ที่ใช้ขับในการเดินทางปกติ ไม่ใช่เอาไปลากของหนักให้เสียหาย หรือไม่เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ หากเกิดควมเสียหายผู้ยืมต้องรับผิดชอบค่าซ่อมแซม ค่าบำรุงรักษาเพื่อให้ทรัพย์นั้นคงสภาพเดิม

2) สงวนทรัพย์สินที่ยืม หมายความว่า คนทั่วไปนั้นรักษาทรัพย์สินอย่างไร ผู้ยืมต้องสงวนรักษาไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่คนทั่วไปนั้นกระทำกัน

3.3 ความระงับของสัญญายืมใช้คงรูป

1) ระงับเพราะความตายของผู้ยืม กล่าวคือ ระงับไปด้วยความตายของผู้ยืม เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ยืม
โดยที่ทายาทจะเข้ามาใช้สิทธิในสัญญายืมนั้นต่อไม่ได้ แต่ทายาทต้องรับหน้าที่คืนทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม 

2) ระงับเพราะเหตุอื่น ได้แก่ คืนทรัพย์สินที่ยืมแล้ว มีการบอกเลิกสัญญากันแล้ว เป็นต้น

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดถึงการให้ยืมใช้คงรูปนั้น จะดูเหมือนเป็นกฎหมายของความเชื่อใจ ผู้ให้ยืมไม่ได้ค่าตอบแทนแต่ก็ใช่ว่าผู้ให้ยืมจะไม่มีสิทธิเรียกร้องสิ่งใดเลย เมื่อการยืมใช้คงรูปเป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่กรรมสิทธิ์ไม่ได้โอนให้แก่ผู้ยืม ผู้ให้ยืมจึงมีสิทธิ บอกเลิกการให้ยืม เรียกเอาทรัพย์ที่ยืมคืน เรียกร้องให้ชดใช้ราคาทรัพย์หรือชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ที่ยืม หรือหากผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็สามารถเรียกดอกผลที่เกิดจากทรัพย์ที่ยืมได้ ดังนั้น ผู้ยืมควรต้องระวังการใช้ทรัพย์ที่ยืม แม้การที่ผู้ยืมนำของผู้ให้ยืมมาใช้ โดยที่ไม่เสียค่าเช่า หรือค่าตอบแทนในการใช้สอยใดๆ ก็ตาม แต่ก็ยังคงต้องรับผิด หากทรัพย์ที่ยืมนั้นเกิดความเสียหาย

ข้อตกต่างระหว่างสัญญายืมทั้ง 2 ประเภท

4. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง

จะแตกต่างจากยืมใช้คงรูป กล่าวคือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะถูกโอนไป ซึ่งผู้ให้ยืมไม่สามารถเรียกทรัพย์สินชิ้นเดิมที่ให้ยืมได้ แต่จะได้รับทรัพย์สินชิ้นใหม่ซึ่งเป็นไปตามจำนวนและประเภทเดียวกันกับชิ้นเดิม

4.1 ลักษณะของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง มีดังนี้

1) วัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป เช่น ยืมน้ำมาดื่ม ข้าวสารมาหุงกิน ยืมเงิน เป็นต้น

2) เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน เพราะผู้ให้ยืมไม่มีหนี้ใดต้องชำระตอบแทนผู้ยืม แต่เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้ ซึ่งแตกต่างจากสัญญายืมใช้คงรูป สำหรับกู้ยืมเงินซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองอย่างหนึ่ง แม้จะมีค่าตอบแทนโดยการเรียกดอกเบี้ยกัน ก็เป็นเพียงค่าตอบแทนแก่ผู้ให้ยืมในการกู้ยืมเงิน มิได้ทำให้ผู้ให้ยืมมีหนี้ต้องชำระตอบแทน จึงไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน

3) เป็นสัญญาที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม ซึ่งผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ยืม และเมื่อเกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินที่ยืม ผู้ยืมซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว ต้องเป็นผู้รับผลในความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว เช่น
เมื่อแดงยืมเงินดำมาแล้ว ถูกโจรปล้นเอาเงินที่ยืมมาระหว่างทางกลับบ้าน เช่นนี้ แดงต้องรับผลในความเสียหายดังกล่าว และมี หน้าที่ต้องคืนเงินแก่ดำตามที่ยืมมา

4) เป็นสัญญาที่สมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม 

4.2 หน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง

คือ การคืนทรัพย์สินที่ยืม โดยที่ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืม เช่น ยืมข้าวหอมมะลิก็ต้องคืนด้วยข้าวหอมมะลิ จะเอาข้าวสาวชนิดอื่นมาคืนไม่ได้ เป็นต้น

จะขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยนั้น กล่าวได้ว่า สัญญากู้ยืมเงิน เป็นสัญญาที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งการกู้ยืมเงินจัดอยู่ในประเภทของ “สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง” กล่าวคือ เมื่อเราให้ลูกหนี้ยืมเงินไป เขาก็ไม่สามารถจะนำธนบัตรฉบับเดิม (ที่มีตัวเลขเดิม ลักษณะแบบเดิม) กลับมาคืนได้ เพราะธรรมชาติของการยืมเงิน ก็จะต้องมีการจ่ายออกไป แล้วค่อยหาธนบัตรฉบับใหม่ (ที่มีตัวเลขใหม่) มูลค่าเท่าเดิมกลับมาคืนแก่เจ้าหนี้แทน

4.3 หลักฐานการกู้ยืมเงิน

ในกรณีที่จำนวนเงินที่กู้ยืมเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป กฎหมายกำหนดให้ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ซึ่งหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร มีข้อความชัดแจ้งว่ามีการกู้ยืมเงินกันไปเป็นจำนวนเท่าใดและตกลงจะใช้คืนเมื่อใด และที่สำคัญคือต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเป็นสำคัญด้วย

4.4 ดอกเบี้ยกู้ยืมเงิน

ในการกู้ยืมเงิน กฎหมายสามารถให้คิดดอกเบี้ยกันได้ แต่เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบกัน จึงได้กำหนดจำกัดอัตราดอกเบี้ยไว้ โดยห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี (อัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน) และหากในสัญญากำหนดดอกเบี้ยที่เกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี ในกรณีที่กำหนดดอกเบี้ยไว้เกินอัตราที่กำหนด ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นตกเป็นโมฆะทั้งหมด แต่เงินต้นที่กู้ยืมกันยังมีผลสมบูรณ์ แต่ดอกเบี้ยที่ผู้กู้ยืมชำระไปแล้ว จะไม่สามารถเรียกคืนได้ โดยถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสมัครใจ และอาจเป็นความผิดอาญา ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4

4.5 กู้ยืมเงินแล้วไม่คืนมีอายุความกี่ปี

การฟ้องศาลเพื่อเรียกเงินคืนตามสัญญากู้ยืมเงิน มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน แต่หากในสัญญากู้ยืมมีการตกลงกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแบบเป็นงวดๆ จะมีอายุความเพียง 5 ปี 

4.6 วิธีทำสัญญากู้ยืมเงิน

ดังนั้น ในการลดความเสี่ยงของการที่ผู้กู้จะไม่ชำระหนี้ ผู้ให้กู้ควรหาหลักประกันดัง เช่น การค้ำประกันคือการที่คนอื่นที่ไม่ใช่ผู้กู้ยอมเอาตนเข้าประกันหนี้เงินกู้ หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะยอมชำระหนี้แทน ผู้ให้กู้ก็สามารถเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ หรือการจำนอง เป็นการประกันด้วยทรัพย์สินไม่ว่าทรัพย์สินของผู้จำนองหรือทรัพย์สินของผู้อื่น หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ก็สามารถนำทรัพย์จำนองนั้นไปขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนองเอาเงินมาชำระหนี้กู้ยืมเงินได้ ทั้งนี้การทำสัญญาจำนองนั้นต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดินเพื่อเป็นหลักประกัน

4.7 รายละเอียดสัญญากู้ยืมเงิน ได้แก่

1) วันที่ที่ทำสัญญากู้เงิน

2) ชื่อ – นามสกุล ผู้ขอกู้เงินและผู้ให้กู้เงิน

3) จำนวนเงินที่กู้ (ต้องเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือกำกับไว้ด้วย)

4) กำหนดการชำระคืน

5) ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี)

6) หลักประกันการชำระหนี้

7) ลายมือชื่อผู้กู้ยืม

8) ลายมือชื่อผู้ให้กู้ 

9) อื่นๆ เช่น สถานที่ทำสัญญา ผลของการผิดสัญญา พยานในการทำสัญญา 

ระยะเวลาการชำระเงินคืนมีความสำคัญมากในสัญญาเงินกู้ หากมีข้อตกลง ผู้กู้ควรชำระคืนตามปกติเมื่อถึงเวลาชำระคืนเงิน หากไม่มีข้อตกลงเงื่อนไขกำหนดวันชำระเงิน ผู้กู้สามารถชำระเงินคืนเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ แต่เมื่อผู้ให้กู้ทวงถามผู้กู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินให้กับผู้กู้ทันที (มาตรา 203 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) ในทางปฏิบัติแล้วหากต้องการจะทวงถามหนี้เพื่อให้ผู้กู้ชำระเงินคืน ควรมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามเพื่อให้ลูกหนี้ ทราบล่วงหน้าว่าจะมีการดำเนินคดีภายใต้เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เงื่อนไขให้ชำระหนี้ และมักมีเงื่อนไขเวลามาเป็นตัวกำหนดให้ดำเนินการภายใน 7 หรือ 15 หรือ 30 วัน หากครบระยะเวลากำหนดแล้วผู้กู้ไม่ชำระหนี้ ผู้ให้กู้สามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้

5. การร่างหนังสือกู้ยืมเงินยุ่งยากมากเลยใช่ไหม Lawsnote DocPie สามารถทำหนังสือสัญญากู้ยืมที่เป็นของคุณได้

หาคีย์เวิร์ดในโลกอินเตอร์เน็ตตั้งเยอะ เช่น “สัญญาเงินกู้ระหว่างบุคคล” “หนังสือ สัญญากู้ยืมเงิน” “สัญญาเงินกู้” “ตัวอย่าง สัญญากู้เงิน ตามกฎหมายใหม่” “หนังสือสัญญาเงินกู้แบบง่าย” แต่ก็ยังไม่เจอสัญญากู้ยืมที่เหมาะกับตัวเอง แต่ก็ไม่รู้จะเขียนรูปแบบเนื้อหาสัญญายังไงใช่ไหม อย่ากังวลไปเลย บริการสร้างสัญญาอัตโนมัติผ่านการใช้งาน Lawsnote DocPie  เพียงแค่ตอบแบบสอบถาม  คุณก็จะสบายขึ้นมีหนังสือสัญญากู้ยืมที่เป็นของคุณ 1 ฉบับ

การบริการของ Lawsnote DocPie

🌟ปรับแต่ง : เพียงแค่ตอบแบบสอบถามแบบง่าย ๆ และระบบจะปรับเนื้อหาเอกสารตามคำตอบของคุณโดยอัตโนมัติ 

🌟เชี่ยวชาญ : แบบสอบถามและเนื้อหาเอกสารทางกฎหมายจัดทำโดยทนายความมืออาชีพ 

🌟ราคาสมเหตุสมผล : Lawsnote เก็บค่าบริการแบบสมเหตุสมผล เอกสารทางกฎหมายในแต่ละฉบับ ราคาไม่เกิน 10เปอร์เซ็นต์ของค่าบริการจากทนายความ

คลิกปุ่มด้านล่างตอนนี้เพื่อสร้าง สัญญากู้ยืม ของคุณเองได้ง่ายๆ!