หน้าหลัก|ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย » เรื่องที่คุณต้องรู้ก่อนทำสัญญาเช่าที่ดิน ว่าควรมีเนื้อหาอะไร รู้จบครบในบทความเดียว

เรื่องที่คุณต้องรู้ก่อนทำสัญญาเช่าที่ดิน ว่าควรมีเนื้อหาอะไร รู้จบครบในบทความเดียว

หลาย ๆ คนก่อนที่จะเริ่มทำสัญญาเช่าที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการทำสัญญาเช่าที่ดิน เพื่อการเกษตร เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือ เพื่อการปลูกสิ่งก่อสร้างใด ๆ อาจจะมีข้อสงสัยว่าการทำสัญญาเช่าที่ดินนั้นควรมีเนื้อหาและขั้นตอนอะไรบ้าง หรือรูปแบบของสัญญาเช่าที่ดินมีกี่ประเภท ในบทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจกับสัญญาเช่าที่ดินให้มากขึ้น และ ยังมีบริการการทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินอัตโนมัติจากทาง Lawsnote Docpie เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณในท้ายบทความนี้

อ้างอิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 537 สัญญาเช่าที่ดิน คือ เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานเพื่อสื่อว่าผู้ให้เช่าที่ดินและผู้เช่าที่ดินมีวัตถุประสงค์ต้องตรงกันในการเช่าที่ดินผืนนั้น เพื่อการทำธุรกิจหรือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้นตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ 

1.1 หนังสือสัญญาเช่าที่ดินควรมีเนื้อหาอะไรบ้าง

การทำสัญญาเช่าที่ดินไม่เพียงแต่เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเพียงอย่างเดียว แต่ทั้งนี้ยังเพื่อการปกป้องรักษาสิทธิของตนหากในอนาคตมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ดังนี้ก่อนที่จะลงนามในหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน ควรตรวจสอบให้เรียบร้อยเกี่ยวกับเนื้อหาของสัญญา ดังนั้นแล้วสิ่งที่ควรมีประกอบในเนื้อหาของสัญญาเช่าที่ดินมีดังนี้

  1. ชื่อและข้อมูลของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
  2. รายละเอียดของที่ดิน
  3. ระยะเวลาในการเช่า
  4. ค่าเช่าและเงื่อนไขการชำระเงิน รวมถึงช่องทางและวันเวลาในการชำระเงิน
  5. วัตถุประสงค์ในการใช้ที่ดินควรกำหนดให้แน่ชัดว่าผู้เช่าสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้มากน้อยแค่ไหน เช่น ใช้เพื่อการเกษตร, การพาณิชย์ หรือ เพื่อการอยู่อาศัย เป็นต้น
  6. สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
  7. เงื่อนไขในการยกเลิกสัญญา
  8. การประกันภัยและความรับผิด: ความรับผิดชอบต่อการประกันภัย, ความเสียหายที่เกิดขึ้น, และการประกันอุบัติเหตุ
  9. การลงนามของทั้งสองฝ่าย

1.2 ข้อควรระวังและคำแนะนำในการเขียนเนื้อหาสัญญาเช่าที่ดิน

ในการเช่าที่ดินมักจะเกิดปัญหาหรือข้อพิพาทเป็นจำนวนมาก โดยข้อควรระวังในการเช่าที่ดินสำหรับผู้เช่าและผู้ให้เช่า มีดังนี้

・ผู้เช่า

  1. หลักฐานการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือใบนายหน้า
    ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนเซ็นสัญญาเช่าที่ดิน ว่าผู้ให้เช่าที่ดินนั้นมีโฉนดที่ดินที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และ มิได้ให้ใครเช่าอยู่ ในกรณีที่มีผู้เช่าเดิมอยู่ก่อนควรสอบถามให้เรียบร้อยเกี่ยวกับวันที่ผู้เช่าเดิมจะออก และวันเวลาที่สามารถดำเนินการเช่าและเข้าใช้ประโยชน์ได้ ในกรณีที่มีการเช่าช่วง ควรมีหลักฐานให้ชัดเจนว่าผู้ให้เช่าและผู้เช่ารับรู้และยินยอมเกี่ยวกับการให้เช่าช่วงต่อได้ โดยขอหนังสือหลักฐานความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าจากผู้ให้เช่า

  2.  จัดทำเอกสาร ลงลายมือชื่อและพูดคุยตกลงให้เรียบร้อยใเนื้อหา ดังต่อไปนี้

    อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนแรกว่าสัญญาเช่าที่ดินควรมีเนื้อหาอะไรบ้าง ทั้งนี้ควรเช็คให้แน่ใจก่อนที่จะเซ็นสัญญาเกี่ยวกับเรื่องการลงทะเบียน การเก็บชำระ และหากมีการละเมิดสัญญาจะต้องชดเชยค่าเสียหายอย่างไร

  3. หลังจากจ่ายมัดจำแล้วควรเก็บสัญญาไว้ 1 ฉบับ

・ผู้ให้เช่า

  1. ควรขอข้อมูลส่วนตัวของผู้เช่า
    เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้ให้เช่า ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า ผู้ให้เช่าควรมีการขอสำเนาบัตรเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อของผู้เช่าที่ดิน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน นามบัตร หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง มาเพื่อยืนยันตัวตน และควรยืนยันอายุของผู้เช่า ซึ่งหากผู้เช่าอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องแสดงหนังสือยินยอมจากตัวแทนตามกฎหมาย

  2. เมื่อมีการทำสัญญาเกิดขึ้น ผู้ให้เช่าควรระบุเนื้อหาดังต่อไปนี้ลงในสัญญา ได้แก่ ข้อมูลการเช่า ที่ตั้งของที่ดิน ระยะเวลาการให้เช่าและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ค่าเช่าและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระ นอกเหนือจากค่าเช่าแล้วค่าใช้จ่ายอื่นๆ มีอะไรบ้าง เช่น ค่าภาษีในการจดทะเบียนที่ดิน ค่าการปลูกสิ่งก่อสร้าง ในกรณีที่มีการสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้น ควรเป็นหน้าที่ของใครในการรับผิดชอบการกระทำที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น

  3. ตรวจสอบให้แน่ใจในเรื่องของวัตถุประสงค์ในการให้เช่าที่ดินอนุญาตให้มีการปลูกสิ่งก่อสร้างเพื่อการพานิชณ์หรือไม่

  4. หลังจากอ่านเนื้อหาสัญญาเข้าใจและยินยอมเซ็นสัญญา ได้รับเงินมัดจำแล้ว ควรเก็บสัญญาไว้ที่ตนเอง 1 ฉบับ

・การจดทะเบียนการเช่าที่ดิน

หากมีการเช่าที่ดินเกินระยะเวลา 3 ปี ควรระบุวันและเวลาลงในสัญญาและพูดคุยให้เรียบร้อยเกี่ยวกับวันที่โอน วันที่เข้าอยู่ และการจดทะเบียนที่ดินให้เรียบร้อย หากมีการละเมิดสัญญาสามารถนำสัญญาฉบับนี้ยื่นฟ้องและบังคับให้ไปจดทะเบียนให้สำเร็จเรียบร้อย

・การชำระค่าเช่า

การชำระเงินค่าเช่าล่าช้า หรือค้างชำระค่าเช่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้ทั่วไป ผู้เช่าควรชำระค่าเช่าตามระยะเวลาและวิธีการชำระเงินที่กำหนดในสัญญา ในกรณีที่ชำระเงินล่าช้าหรือมีการค้างชำระ ผู้ให้เช่าสามารถขอให้ผู้เช่าชำระดอกเบี้ยผิดนัดชำระหรือยกเลิกสัญญาเช่าได้

・บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนเลิกสัญญา

สัญญาเช่าที่ดินควรระบุไว้ว่า หากผู้เช่าหรือผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดควรปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อไหน อย่างไร หรือระยะเวลาที่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และจำเป็นต้องชำระค่าผิดสัญญาในเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทในอนาคต

・เงินมัดจำ หลักทรัพย์ค้ำประกัน และ การคืนเงินมัดจำ

หากผู้เช่าไม่ได้ต่อสัญญาแล้ว การคืนเงินมัดจำและเงินประกันก็เป็นอีกหนึ่งข้อพิพาทที่พบได้บ่อย เหตุเกิดการพิพาทอาจจะเกิดจากเวลาและจำนวนที่ต้องคืนเงินดังกล่าว ดังนั้น จึงควรระบุไว้ในสัญญาให้ชัดเจนซึ่งผู้เช่าและผู้ให้เช่าก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญา 

・คำแนะนำ

ผู้เช่าและผู้ให้เช่าควรตกลงและอ่านเนื้อหาของสัญญาการเช่าที่ดินให้ละเอียดรอบคอบก่อนลงนาม เนื่องจากสัญญาเช่าที่ดินฉบับนี้จะมีผลในอนาคตและมีผลทางกฎหมาย เพื่อเลี่ยงข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

1.3 ขั้นตอนในการทำสัญญาเช่าที่ดิน และ ข้อควรระวัง

ขั้นตอนในการทำให้สัญญาเช่าที่ดินมีผลในทางกฏหมายนั้นก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในการทำสัญญาทุกฉบับ มิใช่แค่เพียงสัญญาเช่าที่ดินเท่านั้น อย่างไรก็ตามการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจในตัวหนังสือสัญญาและลงนามแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าสัญญาเช่าที่ดินนั้นสมบูรณ์ ต้องผ่านขั้นตอนการจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่กรมการที่ดิน ส่งมอบโฉนดที่ดินและสัญญาก่อนจึงจะถือว่าสัญญาเช่าที่ดินนั้นมีผลทางกฎหมายอย่างสมบูรณ์

2. รูปแบบและประเภทของสัญญาเช่าที่ดิน

รูปแบบและประเภทของสัญญาเช่าที่ดินนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ การเช่าที่ดินในระยะสั้น และ การเช่าที่ดินในระยะยาว เช่นเดียวกับสัญญาเช่าทั่วไป อ้างอิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 538

โดยการเช่าตามมาตรา 538 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. การเช่าแบบระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือสัญญาเช่าโดยมีการลงลายมือชื่อคู่สัญญา
    ทั้งสองฝ่าย เนื่องจาก หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจึงจะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันได้

  2. การเช่าแบบระยะเวลาที่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
    จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับเรียกค่าเสียหายกันได้ตามระยะเวลาที่ได้มีการเช่า แต่หากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จะสามารถฟ้องร้องบังคับเรียกค่าเสียหายกันได้เพียง 3 (สาม) ปีเท่านั้น

การเช่าที่ดินหรือการทำสัญญาเช่าห้องพักแต่ละที่นั้น จะมีรายละเอียดในสัญญาเช่าที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องของกฎข้อบังคับ ระยะเวลาวางเงินประกัน ค่าปรับต่าง ๆ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทุกๆ สัญญาเช่าที่ดีควรจะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน เพื่อระบุรายละเอียดให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเข้าใจและมีเจตนาเข้าทำสัญญาแบบเดียวกัน กำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าและผู้ให้เช่า รวมถึงความรับผิดชอบในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นในภายหลัง ดังนั้น สัญญาเช่าจึงเป็นเอกสารกฎหมายที่สำคัญไม่เพียงแต่ปกป้องสิทธิระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า แต่ยังเป็นข้อมูลและหลักฐานอ้างอิงสำคัญในการชี้แจงประเด็นต่าง ๆ หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเกิดเหตุข้อพิพาทขึ้น 

3. เทมเพลตสัญญาเช่าที่ดินหาได้จากไหน ดาวน์โหลดไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของเทมเพลตสัญญาเช่าที่ดินได้ที่นี่ ดาวน์โหลดหนังสือสัญญาเช่าที่ดินก็ต้องที่ Lawsnote DocPie!

คุณยังคงหาข้อมูลอย่างยากลำบากบนอินเตอร์เน็ตเรื่อง หนังสือสัญญาเช่าซื้อที่ดิน” “แบบฟอร์มสัญญาเช่าที่ดิน”   “หนังสือเช่าที่ดิน”หรือ “หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน word”อยู่ไหม เนื่องจากการทำเนื้อหาสัญญาเช่าที่ดินอาจมีวัตถุประสงค์หรือรายละเอียดต่าง ๆ ของคู่สัญญาที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างสัญญาบนโลกอินเตอร์เน็ตจึงอาจไม่เหมาะกับสิ่งที่คุณต้องการ

อยากทราบวิธีที่สะดวกขึ้น โดยสามารถจัดทำสัญญาเช่าที่ดินและ1 ฉบับที่เป็นของคุณไหม ถ้าเช่นนั้นคุณไม่ควรพลาดอุปกรณ์สร้างสัญญาอัตโนมัติของ Lawsnote DocPie! 

  •           การปรับแต่ง : เพียงแค่ตอบแบบสอบถามง่าย ๆ ระบบจะปรับเนื้อหาเอกสารตามคำตอบของคุณโดยอัตโนมัติ 
  •           ความเชี่ยวชาญ : แบบสอบถามและเนื้อหาเอกสารทางกฎหมายที่จัดทำโดยทนายความมืออาชีพ 
  •           ราคาสมเหตุสมผล : Lawsnote เก็บค่าบริการแบบสมเหตุสมผล เอกสารทางกฎหมายในแต่ละฉบับราคาไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าบริการจากทนายความ